ปี-39-ฉบับที่-3
63 วิบูลย์ ลี้ สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ร่วมเพศ โดยแสดงด้วยเส้นและสีอย่างง่าย ๆ การน� ำเสนอภาพที่เปลือยเปล่าของสตรีของชิลเลอร์ไม่ใช่ การแสดงเรือนร่างที่งดงาม หากแต่เป็นการน� ำเสนอภาพสตรีเพศที่ไม่น่าดู แต่ในความน่าเกลียดนั้น กลับงามด้วยเส้น น�้ ำหนัก องค์ประกอบศิลป์ ภาพเปลือยของชิลเลอร์ไม่ให้ความรู้สึกทางกามารมณ์ แต่ ให้ความรู้สึกของความเป็นอนิจจัง ความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร ดังนั้น ภาพเปลือยของสตรีเพศจึงไม่ใช่ ความงาม ความสดใสของเนื้อหนัง ทรวดทรง ทั้งหมด แต่ศิลปินบางคนน� ำเสนอในแง่มุมที่กลับกัน เช่น ฟิลิป เพิร์ลสตีล (Philip Pearlstein: 1924) จิตรกรชาวอเมริกัน ที่น� ำเสนอภาพเรือนร่างที่เปลือยเปล่าของตนเอง และภรรยา แสดงให้เห็นความไม่เที่ยงของสังขาร กามารมณ์กลายเป็นเรื่องน่าสะอิดสะเอียน ไม่รื่นรมย์ เช่นเดียวกับ ลูเซียน ฟรอยด์ ๑๑ (Lucian Freud: 1922-2011) จิตรกรชาวอังกฤษ ที่น� ำเสนอภาพ เปลือยของตนเองและภรรยา และภาพเปลือยของสตรีที่ไม่ใช่สาวรุ่น แต่เป็นภาพสตรีสูงอายุที่เนื้อหนัง มังสาเหี่ยวย่น ต้องการแสดงให้เห็นสัจธรรมของสังขารที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แม้ศิลปินเหล่านี้จะไม่ ได้ศึกษาหลักพระพุทธศาสนา แต่พวกเขาเข้าใจกฎของธรรมชาติที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ ดังนั้น ความเป็น มนุษย์ที่ไม่สามารถแยกเป็นตะวันออก ตะวันตก ไม่ว่าผิวขาว ผิวเหลือง ผิวด� ำ แท้จริงแล้วคือมนุษย์ที่ต้อง กิน นอน สืบพันธุ์เหมือนกัน ต่างกันที่การแสดงออกทางศิลปะ นอกจากผลงานจิตรกรรมแล้ว ยังมีภาพถ่ายแนวกามิกศิลป์ด้วย เช่น ผลงานของรอเบิร์ต เมปเพล- โทป (Robert Mepplethope: 1946-89) ช่างภาพชาวอเมริกัน ที่น� ำเสนอภาพถ่ายอวัยวะเพศชายอย่าง โจ่งแจ้ง ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง แม้จะเป็นอวัยวะเพศชาย แต่ด้วยการใช้แสงและเงาอย่าง แยบยลจนอวัยวะเพศชายดูเป็นประติมากรรม ผลงานของเขาเป็นการเปิดโลกของการแสดงออกทางศิลปะ อย่างอิสระในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ อย่างไรก็ตาม ภาพเปลือยถูกกล่าวถึงและถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่อยมาว่า เหมาะสมหรือไม่ ขัด ต่อศีลธรรมหรือไม่ ทั้งในโลกตะวันตกและตะวันออกมานานหลายร้อยปี เมื่อโลกเปิดกว้าง คนยอมรับว่า ภาพเปลือยที่แสดงเรือนร่างมนุษย์ถือว่าเป็นงานศิลปะที่ศิลปินต้องการน� ำเสนอความงามผ่านเรือนร่าง ของมนุษย์ ศิลปินชาวตะวันตกสร้างรูปเปลือยแบบเหมือนจริง ในขณะที่ศิลปินชาวตะวันออกสร้างภาพ เปลือยทั้งแบบเหมือนจริงและแบบอุดมคติ ๑๒ ศิลปินสร้างภาพเปลือยด้วยกลวิธีต่าง ๆ ตั้งแต่งานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ วาดเส้น จนถึงงานภาพถ่าย ปัจจุบันผู้เสพงานศิลปะยอมรับว่าภาพเปลือยที่ศิลปิน สร้างขึ้นเป็นงานศิลปะไม่ใช่สิ่งอนาจาร การยอมรับของประชาชนหรือผู้เสพศิลปะนั้น ค่อยเป็นค่อยไปตั้งแต่ การยอมรับว่าภาพเปลือยเป็นงานศิลปะจนถึงการแสดงการร่วมเพศอย่างที่ปรากฏในงานกามิกศิลป์ ๑๑ หลานปู่ของซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud: 1856-1939) นักจิตวิทยาผู้คิดทฤษฎีจิตวิทยาเกี่ยวกับจิตใต้ส� ำนึกของมนุษย์ ๑๒ การสร้างงานศิลปะของชาวตะวันตกเป็นงานแบบเหมือนจริง (realistic) แต่ชาวตะวันออกสร้างงานศิลปะแบบอุดมคติ (idealistic) มากกว่าเหมือนจริง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=