ปี-39-ฉบับที่-3
61 วิบูลย์ ลี้ สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ในวรรณกรรมมักเสนอภาพชีวิตในราชส� ำนักที่มีแต่ความรื่นรมย์ในกามารมณ์ ภาพชุงงะพัฒนาเรื่อยมาใน คริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ มีทั้งที่เป็นภาพพิมพ์และจิตรกรรมแบบม้วนส� ำหรับแขวน (scroll painting) และ ภาพลายเส้นแบบการ์ตูนเป็นเล่ม ๆ (comic book) บางทีมีข้อเขียนประกอบด้วย ผู้มีฐานะดีมักสะสม ภาพเขียนที่มีราคาสูงกว่าภาพพิมพ์ แต่ภาพพิมพ์แพร่หลายมากกว่า ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ภาพชุงงะ ได้รับความนิยมกว้างขวางในสังคมทุกระดับ ภาพชุงงะมีทั้งภาพการร่วมเพศระหว่างชายหญิง พวกรัก ร่วมเพศ นักบวชในศาสนา คนกับสัตว์ที่แสดงสันดานดิบของมนุษย์ กามารมณ์กับความตาย จนถึงภาพ แสดงอารมณ์ขัน ศิลปินที่สร้างงานชุงงะเป็นกลุ่มเดียวกับศิลปินที่สร้างงานอุกิโยะเอะที่มีชีวิตอยู่ระหว่าง คริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ และ๑๘ งานอุกิโยะเอะและชุงงะแม้จะแสดงภาพที่ล่อแหลมระหว่างศิลปะกับอนาจาร แต่ด้วยชั้นเชิงและความสามารถของศิลปินท� ำให้ผลงานศิลปะเหล่านั้นให้ความรู้สึกรื่นรมย์ด้วยเส้น สี และ องค์ประกอบศิลป์ที่เปล่งประกายของสุนทรียภาพที่น่าชื่นชม ภาพชุงงะได้รับควานสนใจอย่างมากในยุโรปและอเมริกาเหนือเช่นเดียวกับภาพอุกิโยะเอะ ศิลปินชาวยุโรปหลายคนได้รับอิทธิพลจากภาพชุงงะ เช่น กุสตาฟ คลิมท์ (Gustav Klimt: 1862-1918 ) ศิลปินชาวออสเตรียผู้สร้างงานในแนวนวศิลป์ (art nouveau) อับเบรย์ เบียดสเลย์ (Aubrey Beardsley: 1872-1898) นักเขียนภาพประกอบชาวอังกฤษ นอกจากภาพชุงงะจะให้อิทธิพลแก่ศิลปินแล้ว กระแสนิยม ศิลปะญี่ปุ่นในยุโรปท� ำให้มีนักสะสมภาพพิมพ์ชุงงะและอุกิโยะเอะจ� ำนวนหนึ่งเก็บรักษาผลงานศิลปะชุงงะ ไว้ ปัจจุบันงานศิลปะประเภทนี้ได้รับความสนใจและมีผู้เห็นคุณค่าอย่างกว้างขวาง คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อมีผู้ประดิษฐ์กล้องถ่ายรูป ท� ำให้ภาพเขียนประเภทต่าง ๆ ได้รับผลกระทบ ชั่วระยะหนึ่ง เพราะภาพถ่ายสามารถน� ำเสนอภาพเปลือยและภาพแสดงการร่วมเพศได้ชัดเจน จึงท� ำให้ ภาพถ่ายมีลักษณะเป็นภาพอนาจารมากกว่าเป็นงานศิลปะ ภาพพิมพ์ญี่ปุ่นอีกประเภทหนึ่งที่แสดงการร่วมเพศอย่างโจ่งแจ้งหรือเห็นเรือนร่างบางส่วนของ สตรี จนถึงกิจวัตรประจ� ำวัน เช่น อาบน�้ ำ สระผม แต่งหน้า เรียก อะบุนะเอะ (abuna-e) มาจากค� ำว่า “abunai” หมายถึง อันตรายหรือไม่เหมาะสม (dangerous or risqué) เป็นภาพพิมพ์สีเหมือนกับภาพ ชุงงะ อาบูนะ-เอะหรือภาพอาบูนะสร้างขึ้นราว ค.ศ. ๑๗๗๒ หลังจากนั้นถูกห้ามเผยแพร่ไประยะหนึ่ง แต่กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ เพราะประชาชนเห็นว่าเป็นศิลปะที่แสดง แก่นแท้ของมนุษย์ได้ดีกว่าภาพชุงงะ ศิลปินภาพพิมพ์ที่สร้างงานอะบุนะมีหลายคน เช่น อิชิกะวะ โตโย โนบุ (Ishikawa Toyonobu: 1711-85) โตริ คิโยมิสึ (Tori Kiyomithsu: 1735-85) คิโยฮิโร (Kiyohiro: 1737-76) อิโซดะ คิโยมิสึ (Isoda Kiyomitsu: 1735-85) กามิกศิลป์ในซีกโลกตะวันตก หมายถึง ผลงานศิลปะที่น� ำรูปคนและสัตว์มาเป็นสื่อในการ แสดงออกทางเพศมีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทั้งที่เป็นงานจิตรกรรมบนผนังถ�้ ำ งานประติมากรรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=