ปี-39-ฉบับที่-3

พิ นิ จกามิ กศิ ลป์ 60 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ภาพอุกิโยะเอะบรรลุความส� ำเร็จสูงสุดของภาพพิมพ์ญี่ปุ่นทั้งรูปแบบและเนื้อหา จึงเข้าไปมีอิทธิพลต่อ การสร้างงานจิตรกรรมสมัยใหม่ในยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เกิด ลัทธิญี่ปุ่นนิยม (Japonism) ศิลปิน กลุ่มอิมเพรชชันนิสต์ ๘ และโพสต์อิมเพรชชันนิสต์หลายคน เช่น ปีแยร์ บงนาร์ (Pierre Bonnard: 1876-1947) ฟินเซนต์ ฟาน ก็อก (Vincent van Gogh: 1853-1890) ศิลปินยุโรปที่สร้างงานจิตรกรรม ตามแนวทางของภาพพิมพ์ญี่ปุ่น เช่น ระบายสีเรียบไม่ใช้ฝีแปรง จัดองค์ประกอบศิลป์อย่างภาพพิมพ์ ภาพพิมพ์อุกิโยะเอะเป็นความเคลื่อนไหวของวงการศิลปะญี่ปุ่นสมัยเอโดะ (Edo period,1603-1867) อย่างส� ำคัญทั้งด้านรูปแบบและแนวคิด รวมถึงการเกิดกระแสนิยมในหมู่สามัญชน เพราะราคาไม่สูง พิมพ์ได้เป็นจ� ำนวนมาก ประชาชนทั่วไปสามารถเป็นเจ้าของได้ ต่างกับงานจิตรกรรมที่มีจ� ำนวนจ� ำกัด ราคาสูงจึงไม่เป็นที่นิยมของสามัญชน ภาพพิมพ์อุกิโยะเอะพิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้ (woodblock) มีหลายสี ซุซุกิ ฮะรูโนะบุ (Suzuki Harunobu: 1724-1792) เป็นผู้คิดภาพพิมพ์หลายสีขึ้นโดยใช้แม่พิมพ์แยกสี แม่พิมพ์แผ่นหนึ่งพิมพ์สีหนึ่ง เรียกว่า นิชิกิเอะ (nishiki-e) ท� ำให้ภาพพิมพ์คล้ายงานจิตรกรรม เนื้อหาที่น� ำ เสนอมีทั้งภาพทิวทัศน์ ภาพชีวิตของสามัญชนในเอโดะหรือโตเกียวสมัยนั้น ศิลปินที่มีชื่อเสียงมีหลายคน เช่น คิตะกะวะ อุตะมะโระ (Kitagawa Utamaro: 1753-1806) ผลงานส่วนใหญ่เป็นภาพทิวทัศน์ วิถีชีวิตของชาวเอโดะเสมือนสมุดบันทึกภาพชีวิตประจ� ำวันของชาวเอโดะ คะสึชิกะ โฮกุไซ (Katsushika Hokusai: 1760-1849) ผู้สร้างงานภาพพิมพ์เป็นชุดชุดละ ๑๐๐ รูป เช่น ทิวทัศน์ภูเขาฟูจิ ๑๐๐ ภาพ นิทาน ๑๐๐ เรื่อง รวมทั้งภาพพิมพ์กามิกศิลป์ด้วย เช่น ภาพความฝันของภรรยาชาวประมง (The Dream of the Fisherman’s Wife) เป็นภาพภรรยาชาวประมงฝันว่าถูกปลาหมึกเล้าโลม และ ฮิชิกาวะ โมโรโนบุ (Hishikawa Moronobu: 1618-1694) อูตากาวะ คิโรชิเงะ (Utagawa Hiroshige: 1796-1858) อย่างไรก็ตาม เนื้อหาของภาพพิมพ์อุกิโยะเอะที่โดดเด่นอีกประเภทหนึ่งคือ การน� ำเสนอชีวิตของ เกอิชา นักแสดง ชาวเมือง ที่มีลักษณะเป็นการยั่วยวนทางเพศ การร่วมเพศ เรียก ชุงงะ (shunga) ในคริสต์ ศตวรรษที่ ๑๓ ส่วนมากเป็นภาพพิมพ์แกะไม้ ภาพชุงงะอาจได้รับอิทธิพลจากจิตรกรรมกามิกศิลป์ของจีน สมัยราชวงศ์ถัง (Tang Dynasty:618-907) ที่เรียกว่า ชุง (Shung-significan) ซึ่งแสดงท่าร่วมเพศ ๑๒ ท่า เมื่อแพร่เข้าไปในประทศญี่ปุ่นออกเสียงเป็นชุงงะ ซึ่งปรากฏในงานวรรณกรรม จิตรกรรม และภาพพิพม์ ๘ การบัญญัติค� ำภาษาไทยที่มาจากศัพท์ศิลปะภาษาอังกฤษมีปัญหาค่อนข้างมาก เพราะไม่ใช่การแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย หากแต่เป็นการจับความจากภาษาอังกฤษแล้วบัญญัติเป็นภาษาไทยให้มีความหมายตรงกับค� ำนิยามของศัพท์นั้น ค� ำที่ไม่สามารถหาค� ำใน ภาษาไทยได้ก็ใช้ทับศัพท์ เช่น บาโรก (baroque) กลุ่มออร์ฟิสต์ (orphism) ศิลปะโรโกโก (rococo) แต่ก็มีหลายค� ำที่บัญญัติศัพท์แล้ว ไม่ตรงกับเนื้อหาของศัพท์ภาษาอังกฤษ เช่น Impressionism บัญญัติว่า ลัทธิประทับใจ, abstract art บัญญัติว่า ศิลปะนามธรรม ค� ำที่ ลงท้ายด้วย -ism มักบัญญัติเป็นภาษาไทยว่า ลัทธิ หรือ คติ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=