ปี-39-ฉบับที่-3
59 วิบูลย์ ลี้ สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ คัมภีร์กามสูตร (The Kama Sutra) ที่ส� ำคัญเขียนเป็นภาษาสันสกฤตชื่อ“วาตสยายน กามสูตร” ว่าด้วยการศึกษาเรื่องเพศและพฤติกรรมทางเพศของมนุษย์ เขียนโดยวาตสยายน (วาด-สะ-ยา- ยะ-นะ, Vatsayayana มีชีวิตอยู่ราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑ หรือ ๖ อาจอยู่ในสมัยคุปตะ) ซึ่งยอมรับกันว่าเป็น มาตรฐานการแสดงความรักและความพึงพอใจทางเพศขั้นสูง แสดงท่าทางการร่วมเพศไว้ ๖๔ ท่า เรียก ว่า ศิลปะทั้ง ๖๔ ท่า วาตสยายนเชื่อว่ากามสูตรไม่ใช่สิ่งผิดหรือลามกอนาจาร เพราะไม่ผิดศีลธรรมหาก กระท� ำในระหว่างคู่ครองของตนและเป็นความพึงพอใจในกามารมณ์ (sensual or sexual pleasure) ร่วมกัน แนวคิดนี้จิตรกรได้แสดงออกเป็นภาพจิตรกรรมในรูปแบบต่าง ๆ กัน และแปลเป็นท่าต่าง ๆ ส่วน มากเลียนแบบมาจากพฤติกรรมของสัตว์บ้าง ท่าเปรียบเทียบบ้าง เช่น animal position, cow position, crab position, lotus position, swing position อย่างไรก็ตาม ภาพกามิกศิลป์ของอินเดียมีทั้งภาพ ของสามัญชนและภาพในราชส� ำนัก โดยเฉพาะจิตรกรรมสกุลช่างมุคัล (Mughal) ๖ ได้รับอิทธิพลมาจาก ศิลปะเปอร์เซียเป็นจิตรกรรมระบายสีเรียบ ๆ แต่แสดงรายละเอียดที่งดงามทั้งเส้น สี และองค์ประกอบ มีลักษณะเป็นภาพเหมือนจริงแบบตะวันออก โดยเฉพาะภาพฝีมือจิตรกรราชส� ำนักจะประณีตเป็นพิเศษ ภาพบุคคลเป็นภาพลอยตัวและมีมิติตามกลวิธีโบราณที่ถ�้ ำอชันตะ ๗ (Ajanta Caves) ซึ่งจิตรกรมุคัล ได้รื้อฟื้นขึ้นใหม่ จิตรกรรมมุฆัลมีทั้งภาพขนาดเล็กประกอบคัมภีร์ทางศาสนาและภาพกามิกศิลป์ที่งดงาม จนน่าจะเรียกว่า กามาวิจิตร กามิกศิลป์ของชาวเอเชียไม่ได้มีเฉพาะในประเทศอินเดียเท่านั้น ยังปรากฏอีกหลายประเทศ เช่น กามิกศิลป์ในประเทศจีน ปรากฏในสมัยราชวงศ์หมิง (Ming Dynasty) ราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ มักเป็นภาพที่เสนอความงามของสตรีเพศทั้งสามัญชนและสตรีในราชส� ำนักมากกว่าเรื่องเพศ ต่อมาจึง คลี่คลายเป็นภาพกามิกศิลป์ จิตรกรรมจีนแนวนี้แต่เดิมมักเรียกว่า จิตรกรรมฤดูใบไม้ผลิในพระราชวัง (spring palace painting) ซึ่งหมายถึง การเริ่มผลิบานของหนุ่มสาวในราชส� ำนัก ภาพจิตรกรรมกามิกศิลป์ ของจีนมีทั้งที่เขียนบนผ้า ผ้าไหม มีขนาดเล็ก รูปแบบของภาพเป็นแบบจิตรกรรมตะวันออกคือ ระบายสี เรียบ ๆ แสดงรูปทรงด้วยเส้นรอบนอก ญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีงานกามิกศิลป์โดดเด่น ได้รับอิทธิพลมาจากจีน โดยเฉพาะ ภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้ (woodblock print) ที่เรียกว่า อุกิโยะเอะ (ukiyo-e) ซึ่งเป็นภาพพิมพ์ จากแม่พิมพ์แกะไม้ที่น� ำเสนอ โลกที่ล่องลอยไป (The Floating World) หรือโลกที่ไม่ยั่งยืน ๖ จักรวรรดิมุคัล (Mughal Empire) ปกครองอินเดียระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ มีทั้งประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามและฮินดู มุคัล ภาษาไทยเขียนหลายแบบ เช่น โมคุล โมกุล ๗ Ajanta Caves อยู่ในจังหวัดอุรังกาบาด รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย ประกอบด้วยถ�้ ำจ� ำนวนมาก หลายถ�้ ำมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องราวในพระพุทธศาสนา มีอายุราว ๒๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษที่ ๕-๖ เป็นจิตรกรรมต้นแบบของอินเดีย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=