ปี-39-ฉบับที่-3
พิ นิ จกามิ กศิ ลป์ 58 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ประติมากรรม ซึ่งเป็นการประสานกันระหว่างสถาปนิกกับประติมากร เฉพาะงานประติมากรรมหินแกะ สลักแบบนูนสูง (high relief) สามารถมองเห็นได้จากระดับพื้นดิน สูงขึ้นไปจนระดับทิพยวิมาน เป็น ประติมากรรมรูปหญิงชายเปลือยกายร่ายร� ำและร่วมเพศในอิริยาบถต่าง ๆ งานประติมากรรมที่อยู่ใน ระดับสายตาเป็นฝีมือช่างชั้นสูง เพื่อเสนอให้เห็นฝีมือและชั้นเชิงการสร้างสรรค์ศิลปะชั้นสูง ข้ามพ้นความ อนาจารไปสู่ความบริสุทธิ์ ส่วนที่อยู่ในระดับสูงเป็นฝีมือช่างชั้นรองเพราะเห็นไม่ชัดเจน กามิกศิลป์ที่ เทวาลัยขชุราโหเป็นไปตามแนวคิดของลัทธิตันตระ ๓ หรือตันตริกผสมกับลัทธิไศวนิกาย ๔ และไวษณพนิกาย ๕ ในศาสนาพราหมณ์ แสดงความสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิงขณะที่มีเพศสัมพันธ์รวมกันเป็นเอกภาพ ความ สัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับจักรวาล เข้าสู่ความเป็นสากลเรื่องอาตมันและปรมาตมัน ตามคัมภีร์กามสูตร โดยเพิ่มแนวคิดเรื่องความสมบูรณ์ ความประสานกลมกลืน (harmony) ของเรือนร่างมนุษย์ รูปสลักกามิก- ศิลป์ที่เทวาลัยขชุราโหแสดงให้เห็นการบรรลุความส� ำเร็จสูงสุดของช่างชาวอินเดียในพุทธศตวรรษที่ ๕-๖ นอกจากภาพสลักที่เทวาลัยขชุราโหแล้วในประเทศอินเดียยังมีภาพสลักกามิกศิลป์ที่ภูวเนศวและ เทวาลัยพระสุริยเภพที่โคนารัก รัฐโอริสา เป็นเทวาลัยที่งดงามด้านสถาปัตยกรรมและประติมากรรมศิลา จ� ำหลักภาพกามิกศิลป์ ชาวอินเดียให้ความส� ำคัญเรื่องกามารมณ์มานานกว่า ๓,๐๐๐ ปี มีนักคิดหลายคนพยายามตั้ง ค� ำถามและแสวงหาค� ำตอบตลอดมา เช่น ความปรารถนาทางกามารมณ์เป็นอย่างไร ท� ำอย่างไรจะสนอง ความต้องการนั้นอย่างมีความสุข ในศาสนาพราหมณ์เรียกความต้องการทางเพศว่า กาม หรือ กามะ (Kama) เช่นเดียวกับ กาม ในภาษาไทย ชาวอินเดียพยายามแสวงหาแนวทางแห่งความพึงใจในกามเรื่อย มา จนมีผู้คิดประดิษฐ์ท่าทางการร่วมเพศเป็นสูตรเรียก กามสูตร (Kama Sutra) ซึ่งเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ นักปราชญ์ชาวอินเดียเห็นว่ากามารมณ์เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ไม่ใช่เรื่องของสัญชาตญาณเท่านั้น หากเข้าใจ เรื่องกามจะช่วยชีวิตการครองเรือนยั่งยืน ในศาสนาพราหมณ์มีเทพที่เกี่ยวข้องกับความรักคล้ายกับคิวปิดของชาวตะวันตกแต่เรียกว่า กามเทวะ (Kama deva) ผิวกายสีเขียว ประทับบนหลังนกแก้ว ถือศรที่ปลายเป็นดอกไม้ ๕ ดอก แต่ละ ดอกเป็นสัญลักษณ์ของความต้องการทางเพศ ๕ อย่างคือ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส ในทางพระพุทธ- ศาสนาอาจน� ำมาปรับเป็นกามคุณที่ไม่พึงปรารถนา ๓ ลัทธิตันตระหรือตันตริก นิกายในศาสนาพุทธแบบมหายาน ในทิเบต ภูฏาน และจีน ๔ ไศวนิกาย เป็นนิกายในศาสนาพราหมณ์ที่นับถือพระอิศวรเป็นเทพสูงสุด ๕ ไวษณพนิกาย เป็นนิกายในศาสนาพราหมณ์ที่นับถือพระพรหมเป็นใหญ่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=