ปี-39-ฉบับที่-3
57 วิบูลย์ ลี้ สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ศิลปินหรือผู้สร้างสรรค์งานศิลปะเป็นผู้สะท้อนความเป็นไปและความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ จึงไม่ แปลกที่ศิลปินจะสร้างงานศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับกามารมณ์ แต่ศิลปินเป็นผู้แปลความสิ่งที่ไม่น่าชมให้กลาย เป็นสิ่งงดงามน่ารื่นรมย์ ดังนั้น ศิลปินจึงสร้างภาพการเสพสังวาสของมนุษย์ให้เป็นภาพที่งดงาม อย่างไรก็ตาม ในโลกศิลปะ ภาพที่เกี่ยวข้องกับเรือนร่างมนุษย์ถูกวิพากษ์วิจารณ์เสมอมาแทบทุก ยุคทุกสมัย โดยเฉพาะภาพเปลือยเป็นที่ถกเถียงกันถึงความเหมาะสมหรือไม่ ขัดศีลธรรมหรือไม่ ทั้งในโลก วันตกและตะวันออกมาหลายร้อยปี เมื่อโลกเปิดกว้าง คนยอมรับว่าภาพเปลือยที่แสดงเรือนร่างมนุษย์ ถือว่าเป็นงานศิลปะที่ศิลปินต้องการน� ำเสนอความงามผ่านเรือนร่างของมนุษย์ ศิลปินชาวตะวันตกสร้างรูป เปลือยแบบเหมือนจริง ในขณะที่ศิลปินชาวตะวันออกสร้างภาพเปลือยทั้งแบบเหมือนจริงและแบบอุดมคติ ๒ ศิลปินสร้างภาพเปลือยด้วยกลวิธีต่าง ๆ ตั้งแต่งานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ วาดเส้น จนถึงงาน ภาพถ่าย ปัจจุบันผู้เสพงานศิลปะยอมรับว่าภาพเปลือยที่ศิลปินสร้างขึ้นเป็นงานศิลปะไม่ใช่สิ่งลามกอนาจาร (pornography) การยอมรับของประชาชนหรือผู้เสพศิลปะนั้น ค่อยเป็นค่อยไปตั้งแต่การยอมรับว่าภาพ เปลือยเป็นงานศิลปะจนถึงการแสดงการร่วมเพศอย่างที่ปรากฏในงานกามิกศิลป์ กามิกศิลป์ในตะวันตกมีมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ กรีกและโรมัน เป็นภาพที่แสดงความพึงพอใจ ของมนุษย์ตามธรรมชาติและปรากฏในบทสวดเพื่อบูชาเทพเจ้า ที่ยกย่องสตรีเพศว่าเป็นบ่อเกิดของปัญญา กามารมณ์ท� ำให้โลกรื่นรมย์ แนวคิดนี้มีอยู่ทั่วโลก ผลงานศิลปะที่แสดงการร่วมเพศเห็นอวัยวะเพศหรือกิริยาอาการที่แสดงการร่วมเพศถูกวิพากษ์ วิจารณ์มาช้านาน แม้ปัจจุบันก็ยังเถียงกันไม่จบว่า ศิลปะประเภทนี้เป็นศิลปะ หรือเป็นสิ่งลามกอนาจาร เพราะเส้นแบ่งระหว่างความเป็นศิลปะกับอนาจารนั้นบอบบาง ในทางศิลปะศิลปินสร้างภาพเปลือย เพื่อ น� ำเสนอความงามด้วยเรือนร่างของมนุษย์ ไม่มีวัตถุประสงค์ให้เกิดการกระตุ้นความรู้สึกทางเพศแต่อย่างใด แต่ต้องการให้ผู้ชมได้เสพสุนทรียรสของศิลปะอีกรูปแบบหนึ่ง ผลงานกามิกศิลป์ที่แสดงการร่วมเพศอย่าง โจ่งแจ้ง หากพิจารณาให้ดีก็จะเห็นว่า ศิลปินใช้ความสามารถและชั้นเชิงทางศิลปะนฤมิตให้เป็น กามาวิจิตร มากกว่าความอุจาดลามก กามิกศิลป์ ปรากฏทุกชาติทุกภาษา แต่วัตถุประสงค์และรูปแบบการน� ำเสนอแตกต่างกันไป กามิกศิลป์ของชาวตะวันออกสมัยโบราณที่รู้จักกันดีคือ ประติมากรรมที่เทวาลัยขชุราโห (Khajuraho) รัฐ มัธยประเทศ ประเทศอินเดีย ระหว่าง ค.ศ. ๙๕๐-๑๐๕๐ ประกอบด้วยเทวาลัย ๘๕ หลัง ปัจจุบันเหลือ เพียง ๒๒ หลัง เทวาลัยเหล่านี้ได้รับการออกแบบให้ประสานกลมกลืนกันระหว่างงานสถาปัตยกรรมกับ ๒ การสร้างงานศิลปะของชาวตะวันตกมักเป็นงานแบบเหมือนจริง (realistic) แต่ชาวตะวันออกสร้างงานศิลปะแบบอุดมคติ (idealistic) มากกว่าเหมือนจริง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=