ปี-39-ฉบับที่-3

พิ นิ จกามิ กศิ ลป์ 56 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 เรื่อง พินิจกามิกศิลป์ ต้องการพิจารณาความเป็นมาและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับกามารมณ์ที่ปรากฏ ในงานศิลปะ ซึ่งมีอยู่ในทุกชาติทุกภาษา กามิกศิลป์ชาวตะวันตกเรียก erotic art ๑ มาพิจารณาว่า รูปแบบ และเนื้อหาของศิลปะประเภทนี้เป็นอย่างไร ทั้งในโลกตะวันออกและตะวันตก ศิลปะประเภทนี้ไม่ใคร่จะได้ รับการกล่าวถึงมากนัก โดยเฉพาะวัฒนธรรมของชาวตะวันออกถือว่า เรื่องเพศเป็นความลับ ทั้งที่เป็นเรื่อง ของมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม ในวัฒนธรรมไทยเรื่อง “กาม” เป็นสิ่งต้องห้าม จึงไม่ปรากฏศิลปะที่เกี่ยวข้องกับ กามหรือกามารมณ์ชัดเจน กามิกศิลป์ หมายถึง ภาพหรือเรื่องราวที่แสดงความรักหรือการร่วมเพศ (scenes of love-mak- ing) อาจเป็นภาพเหมือนจริงหรือภาพเชิงสัญลักษณ์ ปรากฏในงานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ วาด เส้น ดนตรี และวรรณกรรม ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบภาพเขียนบนผนังถ�้ ำ ประติมากรรม ไม้และหินในทวีปแอฟริกา ภาพบนภาชนะดินเผาของกรีกโบราณ กามิกศิลป์ในวัฒนธรรมตะวันตกสืบต่อ เรื่อยมาจากศิลปะกรีกโบราณจนถึงปัจจุบัน ในภาษาไทย กามิกศิลป์ บัญญัติจากภาษาอังกฤษ erotic art โดยค� ำ “กาม” และ “ศิลปะ” มารวมกัน หมายถึง ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับกามหรือกามารมณ์ ค� ำนี้จึงดูจะเป็นค� ำที่มีนัยเชิงลบ เพราะใน วัฒนธรรมไทย กาม มีความหมายที่หลากหลาย เช่น กาม (กามะ) หมายถึง ความใคร่ทางเมถุน ซึ่งมีค� ำ ที่เกี่ยวเนื่องอีกหลายค� ำ ล้วนแต่เป็นค� ำต้องห้ามแทบทั้งสิ้น เช่น กามคุณ สิ่งที่น่าปรารถนา ๕ ประการ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และ สัมผัส กามตัณหา ความอยากในกามคุณทั้ง ๕ รวมทั้งค� ำที่เกี่ยวข้องกับกาม ต่าง ๆ ที่แนวคิดในพระพุทธศาสนาเห็นว่าเป็นสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงและละเว้น แท้จริงแล้วเรื่องของ กาม หรือ กามารมณ์ กามตัณหา เป็นเรื่องของมนุษย์ที่ยากจะปฏิเสธ แต่พระพุทธศาสนาพยายามชี้ให้เห็นความ มัวเมาในกามคุณเป็นทุกข์ ผู้ที่ปรารณาความสุขขั้นสูงจึงต้องหลีกเลี่ยง กามคุณ กามราคะ และหลีกให้พ้น จาก กามาพจร หรือสิ่งที่ยังข้องอยู่ในกาม ดังนั้น แนวคิดของชาวพุทธจึงไม่เกี่ยวข้องกับกามิกศิลป์ เพราะ การแสดงความรักหรือการร่วมเพศอย่างเปิดเผยเป็นสิ่งต้องห้าม เรื่องกามารมณ์ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา เพราะยังข้องอยู่ในโลกียสุข เห็นว่า กามารมณ์เป็นความสุขของมนุษย์ที่ไม่สามารถหลุดพ้นไปสู่โลกุตรสุขได้ แต่นักปราชญ์บางกลุ่มใน ประเทศอินเดียกลับเห็นว่า ท� ำอย่างไรจะให้กามารมณ์เป็นเรื่องรื่นรมย์และสร้างสรรค์ โดยเฉพาะขณะที่เกิด ทุพภิกขภัยประชากรลดจ� ำนวนลง การสร้างงานศิลปะเพื่อกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศอาจเพิ่มจ� ำนวน ประชากรได้ แต่ด้วยความสามารถของศิลปินท� ำให้ภาพที่แสดงการร่วมเพศเป็นศิลปะที่งดงาม ๑ erotic มาจากชื่อเทพแห่งความรัก (Eros) ของกรีกโบราณ สมัยโรมันเรียก คิวปิด (cupid) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความรัก แสดงด้วย รูปเด็กทารก เปลือยกาย มีปีก ถือธนูและศร

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=