ปี-39-ฉบับที่-3

วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ พินิจกามิกศิลป์ * วิบูลย์ ลี้สุวรรณ ราชบัณฑิต ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน * บรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ บทคัดย่อ พินิจกามิกศิลป์เป็นการพิจารณาทบทวนศิลปะประเภทหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกามารมณ์ ซึ่งมีมาแต่โบราณและวิวัฒนาการมาเป็นล� ำดับ ทั้งในโลกตะวันออกและตะวันตก ซึ่งมีรูปแบบและ แนวคิดแตกต่างกัน โลกตะวันออกสร้างงานศิลปะแบบอุดมคติ ชาวตะวันตกสร้างงานศิลปะแบบ เหมือนจริง กามิกศิลป์ตะวันออกที่มีชื่อเสียงและเป็นศิลปกรรมที่มีคุณค่ายิ่งคือ ประติมากรรมศิลา จ� ำหลักที่ เทวาลัยขชุรโห (Khajuraho) รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย ระหว่าง ค.ศ. ๙๕๐-๑๐๕๐ ประกอบด้วยเทวาลัย ๘๕ หลัง ปัจจุบันเหลือเพียง ๒๒ หลัง เทวาลัยเหล่านี้ได้รับการออกแบบให้ ประสานกลมกลืนกันระหว่างงานสถาปัตยกรรมกับประติมากรรม ชาวอินเดียให้ความส� ำคัญเรื่อง กามารมณ์มานานกว่า ๓,๐๐๐ ปี มีนักคิดหลายคนพยายามตั้งค� ำถามและแสวงหาค� ำตอบมาตลอด เช่น ความปรารถนาทางกามารมณ์เป็นอย่างไร ท� ำอย่างไรจะสนองความต้องการนั้นอย่างมีความสุข ในศาสนาพราหมณ์เรียกความต้องการทางเพศว่า กาม หรือ กามะ (Kama) เช่นเดียวกับ กาม ใน ภาษาไทย ชาวอินเดียพยายามแสวงหาแนวทางแห่งความพึงใจในกามเรื่อยมา จนมีผู้คิดประดิษฐ์ ท่าทางการร่วมเพศอย่างพึงพอใจเป็นสูตรเรียก กามสูตร (Kama Sutra) ซึ่งเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ นักปราชญ์ชาวอินเดียเห็นว่ากามารมณ์เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ไม่ใช่เรื่องของสัญชาตญาณเท่านั้น หาก เข้าใจเรื่องกามจะช่วยชีวิตการครองเรือนยั่งยืน กามิกศิลป์ตะวันออกปรากฏในงานจิตรกรรม ภาพพิมพ์ เช่น ญี่ปุ่นเรียกศิลปะที่ยั่วยวน ทางเพศว่า ชุงงะ (shunga) ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ ส่วนมากเป็นภาพพิมพ์แกะไม้ ภาพชุงงะอาจ ได้รับอิทธิพลจิตรกรรมกามิกศิลป์ของจีนสมัยราชวงศ์ถัง (Tang Dynasty : 618-907) ที่เรียกว่า ชุง (Shung-significan) ซึ่งแสดงท่าร่วมเพศ ๑๒ ท่า เมื่อแพร่เข้าไปในประทศญี่ปุ่นออกเสียงเป็น ชุงงะ ภาพลักษณะนี้มักเป็นภาพชีวิตในราชส� ำนักที่มีแต่ความรื่นรมย์ในกามารมณ์ ภาพชุงงะพัฒนา เรื่อยมา มีทั้งที่เป็นภาพพิมพ์และจิตรกรรมแขวน มีข้อเขียนประกอบด้วย ในศิลปะไทยไม่ปรากฏภาพกามิกศิลป์ชัดเจน เพราะวัฒนธรรมไทยถือว่าเรื่องกามารมณ์ เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลไม่ควรเปิดเผย ในงานศิลปะไทยจึงมีเพียงภาพแสดงความรัก ไม่มีภาพการร่วม เพศ ต่างจากศิลปะตะวันตกซึ่งมีภาพการร่วมเพศมาแต่โบราณ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัย ประวัติศาสตร์ จนถึงศิลปะสมัยใหม่ ศิลปินสร้างงานกามิกศิลป์ในรูปแบบต่าง ๆ กัน ค� ำส� ำคัญ : กามิกศิลป์, กามาวิจิตร, กามสูตร, กามเทวะ, ภาพชุงงะ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=