ปี-39-ฉบับที่-3

การก่อสร้างอาคาร 52 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ๔. ความต้องการก่อสร้างอาคารให้แล้วเสร็จอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันกับโอกาส และผลตอบแทน ทางเศรษฐกิจและการเมือง เช่นกรณีในประเทศพม่าและจีน ๕. ความจ� ำเป็นต้องใช้อาคารในพื้นที่ที่ทุรกันดารหรือห่างไกลความเจริญ มีปัญหาการขนส่ง หรือจัดหาวัสดุช่าง และแรงงาน เช่น กรณีที่พักในเหมืองกลางป่าหรือหุบเขา หรือบ่อขุดเจาะน�้ ำมันกลาง ทะเลทรายหรือกลางทะเลลึก ๖. เมื่อการก่อสร้างวิธีอื่นไม่สามารถกระท� ำได้ ลักษณะสถาปัตยกรรมที่ก่อสร้างด้วยวิธีระบบอุตสาหกรรมในยุคแรกมักมีรูปแบบหรือ รูปทรงที่มีหน่วยหรือองค์ประกอบสถาปัตยกรรมที่ดูน่าเบื่อ เพราะออกแบบเพื่อประโยชน์ในการใช้งานได้ อย่างรวดเร็ว และเป็นแบบที่ต้องท� ำตามระบบการผลิตของโรงงาน จ� ำนวนในการผลิต ข้อจ� ำกัดของขนาด พิกัดวัสดุ และการขนส่ง จึงอาจดูเป็นอาคารที่ไม่มีสุนทรีย์และไม่ได้รับความสนใจ แต่ในปัจจุบันระบบและ รูปแบบการก่อสร้างวิธีระบบอุตสาหกรรมได้พัฒนาก้าวหน้าและดีขึ้นมาก มีการใช้สีสันและวัสดุใหม่ รูปแบบของหน่วยมอดูลรวมทั้งการใช้งานปรับเปลี่ยนได้หลากหลาย ท� ำให้อาคารมีลักษณะสถาปัตยกรรม ที่ดีและมีคุณค่าได้ แต่ข้อจ� ำกัดอื่น เช่น น�้ ำหนักของหน่วยมอดูล การขนส่ง และการก่อสร้างอาคารด้วยวิธีนี้ ใช้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพกับอาคารเพียงบางประเภทและบางรูปแบบเท่านั้น ท� ำให้ขาดความจูงใจในการ ลงทุน การก่อสร้างอาคารวิธีระบบอุตสาหกรรมจึงยังไม่ใช่ทางเลือกที่จ� ำเป็นและยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลาย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=