ปี-39-ฉบับที่-3

47 มติ ตั้ งพานิช วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ สถาปัตยกรรมที่ก่อสร้างแบบวิธีประกอบชิ้นส่วนส� ำเร็จรูปนี้มักมีลักษณะรูปทรง และองค์ประกอบ เป็นเส้นสายที่ตรงไปตรงมาซึ่งเกิดจากการเชื่อมต่อของชิ้นส่วนส� ำเร็จรูป เช่น รูปทรงสี่เหลี่ยม รูปทรงกลม โดมครึ่งวงกลม องค์ประกอบสถาปัตยกรรมส่วนใดส่วนหนึ่งหรือส่วนใหญ่ซ�้ ำกันมาก เช่น หน้าต่างอาคารสูง โครงสร้างสามเหลี่ยม ในปัจจุบันสถาปัตยกรรมที่ก่อสร้างด้วยวิธีนี้มีอยู่ทั่วไปในเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก ส่วนมาก เป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ที่มีชิ้นส่วนส� ำเร็จรูปเป็นหน่วยซ�้ ำหรือเหมือนกัน เช่น ชิ้นส่วนของด้าน วิศวกรรมโครงสร้างที่เป็นเสา คาน หรือพื้น และชิ้นส่วนส� ำเร็จรูปด้านสถาปัตยกรรม เช่น ผนังและหน้าต่าง ห่อหุ้มอาคาร ผนังภายใน อาคารสูงประเภทอาคารชุดจ� ำนวนมากที่ก� ำลังก่อสร้างอยู่ในกรุงเทพมหานคร ขณะนี้ส่วนมากก่อสร้างด้วยวิธีประกอบชิ้นส่วนส� ำเร็จรูปในสัดส่วนไม่มากก็น้อย ช่างก่อสร้างไทยใช้วิธีประกอบชิ้นส่วนส� ำเร็จรูปในการก่อสร้างเรือนไทยมาช้านานแล้ว โดยเฉพาะ เรือนไทยภาคกลาง โดยการใช้ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเรือนเช่นฝาเรือน ที่ท� ำส� ำเร็จรูปเตรียมไว้ก่อน มาประกอบ หรือปรุงเป็นตัวเรือนในที่ก่อสร้าง ชิ้นส่วนส� ำเร็จรูปเหล่านั้นยังสามารถถอดออกแล้วน� ำไปประกอบใหม่ได้ ในกรณีที่ต้องการจะย้ายตัวเรือนไปตั้งใหม่ที่อื่น นับเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยที่สามารถคิดวิธีการ ก่อสร้างโดยน� ำชิ้นส� ำเร็จรูปมาประกอบกัน ซึ่งเป็นระบบล�้ ำสมัยของโลกที่ไทยคิดได้ก่อนเป็นเวลาหลาย ร้อยปี อีกทั้งยังเป็นระบบที่ถอดย้ายได้อีกด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=