ปี-39-ฉบับที่-3

การก่อสร้างอาคาร 42 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 การออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อใช้ในการก่อสร้างด้วยวิธีนี้มีกระบวนการ และขั้นตอนที่พัฒนา มาจากแนวปฏิบัติในอดีตที่สถาปนิกต้องมีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานในการก่อสร้างอาคาร มีความรู้ ทางวิชาช่าง รู้จักปริมาณงานแต่ละชนิด ประเภทงาน วิธีการท� ำงาน และการใช้งานเครื่องมือ และอุปกรณ์ ต่าง ๆ ฝีมือช่าง และแรงงาน ตลอดจนผลที่จะเกิดขึ้นจากสิ่งเหล่านั้น จึงจะสามารถน� ำความรู้ความเข้าใจ นั้นมาออกแบบเพื่อน� ำไปใช้ในการก่อสร้างได้ มีรายละเอียดของรูปแบบ การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างตาม คุณสมบัติ ธรรมชาติและผลที่จะเกิดขึ้นจากวัสดุนั้น ซึ่งมีทั้งความแข็งแรง ทนทาน และสวยงามได้อย่าง เหมาะสม การก� ำหนดรายละเอียดประกอบแบบ รายการประกอบการก่อสร้าง ตามกระบวนการขั้นตอน ของงานก่อสร้าง และวิธีการก่อสร้างของงานแต่ละประเภทอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และชัดเจน สถาปนิก ต้องมีความสามารถในการสื่อสาร ถ่ายทอด แนะน� ำ ประสานความคิดในงานออกแบบกับบุคลากรทุก ระดับ งานก่อสร้างจึงจะสามารถด� ำเนินการไปตามก� ำหนดการได้อย่างราบรื่น มีคุณภาพ และมาตรฐานที่ดี การก่อสร้างอาคารวิธีประกอบชิ้นส่วนส� ำเร็จรูป (Pre-Fabrication Building Construction) การก่อสร้างอาคารวิธีนี้เป็นการน� ำชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบอาคารที่ท� ำส� ำเร็จรูปจากแหล่ง ผลิตนอกสถานที่ มาประกอบหรือติดตั้งกับอาคารในสถานที่ก่อสร้างอาคาร ซึ่งท� ำเฉพาะงานที่จ� ำเป็น งานก่อสร้างแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรก คืองานที่ท� ำในสถานที่ก่อสร้างอย่างงานเสาเข็ม งานฐานราก งานโครงสร้างส� ำคัญ เช่น โครงสร้างของแกนอาคารในอาคารสูง เป็นงานที่ท� ำเพื่อเตรียมรองรับงานติดตั้ง ที่ส่งมาจากแหล่งผลิต ส่วนที่ ๒ คืองานที่ผลิตเป็นชิ้นส่วนส� ำเร็จรูปซึ่งอาจเป็นชิ้นส่วนของโครงสร้างอย่าง เสา คาน พื้น ผนัง ที่ท� ำด้วยไม้ เหล็ก คอนกรีตเสริมเหล็ก ชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรม เช่น ผนังภายนอก หรือภายในอาคาร บันได ประตูหน้าต่าง ห้องน�้ ำส� ำเร็จรูป เฉลียง ระเบียง ราวกันตก ชายคา กันสาด แผง กันแดด ชิ้นส่วนของชุดหน้าต่างภายนอก หรือผิวอาคารที่เป็นหน้าต่าง ม่านกระจกหรือผนังอาคารที่บุด้วย แผ่นโลหะ เป็นวัสดุที่ท� ำด้วยไม้ คอนกรีตเสริมเหล็ก โลหะ และวัสดุสังเคราะห์ ทั้งนี้แล้วแต่รูปแบบของ สถาปนิกหรือรูปแบบผลิตภัณฑ์ของโรงงานผลิตชิ้นส่วนส� ำเร็จรูปซึ่งมีวิธีติดตั้งไม่เหมือนกันในแต่ละอาคาร การก่อสร้างวิธีนี้พัฒนาจากการก่อสร้างอาคารวิธีปรกติ โดยมีเป้าหมายที่จะลดกระบวนการ ขั้นตอนของงาน และเวลาในสถานที่ก่อสร้างให้น้อยลง เพื่อลดปริมาณงานที่ก่อให้เกิดมลภาวะ และผลกระทบ ต่อชุมชน และอาคารใกล้เคียง รวมทั้งความแออัดของบริเวณก่อสร้าง การน� ำชิ้นส่วนส� ำเร็จรูปจากแหล่งผลิต จึงช่วยลดปริมาณงาน จ� ำนวนช่าง และการขนส่งได้เป็นอย่างมาก งานก่อสร้างแล้วเสร็จรวดเร็วขึ้น วิธีประกอบ ชิ้นส่วนส� ำเร็จรูปเป็นวิธีการก่อสร้างที่เริ่มใช้ในสมัยหลังปฏิวัติอุตสาหกรรม อาคารสมัยสถาปัตยกรรมนวยุค

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=