ปี-39-ฉบับที่-3
39 มติ ตั้ งพานิช วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ แล้วเสร็จ การก่อสร้างอาคารเป็นอุตสาหกรรมในระบบอุตสาหกรรมก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ และมีความ ส� ำคัญมากในการสร้าง และพัฒนาประเทศ การก่อสร้างอาคารมีแนวทางหรือวิธีการก่อสร้างหลายวิธี ขึ้นอยู่กับรูปแบบ รูปทรง การใช้วัสดุ การใช้เครื่องมือ และแรงงาน ซึ่งมีกระบวนการ ขั้นตอน ความรู้ ความเชี่ยวชาญของผู้ท� ำการก่อสร้าง ที่ไม่เหมือนกัน การก่อสร้างอาคารจึงเป็นศาสตร์ที่มีความละเอียดซับซ้อนเกี่ยวกับการบริหารจัดการทุน ทรัพย์ วัสดุ ช่างฝีมือ แรงงาน อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องกล และเทคโนโลยีในการก่อสร้าง มาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน การก่อสร้างอาคารได้พัฒนาไปตามความเจริญก้าวหน้าของแต่ละยุคสมัยที่อาจมีวิธีการ ที่คล้ายกันหรือแตกต่างกันไปตามการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบ ประเภท ขนาด และความซับซ้อนของ อาคาร สถานที่ตั้ง และสิ่งแวดล้อม เงื่อนไข และกฎเกณฑ์ของกฎหมาย ค่านิยมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ของแต่ละชนชาติ ท้องถิ่น และวัฒนธรรม การก่อสร้างอาคารมีหลายระบบ และหลายวิธีการ โดยอาจแบ่งออกเป็น ๓ วิธีหลัก คือ วิธีปรกติ วิธีประกอบชิ้นส่วนส� ำเร็จรูป และวิธีระบบอุตสาหกรรม การก่อสร้างอาคารวิธีปรกติ (Conventional Building Construction) การก่อสร้างอาคารวิธีปรกติ คือ กระบวนการของงาน และขั้นตอนในการก่อสร้างทั้งหมดกระท� ำ ในสถานที่ที่อาคารนั้นตั้งอยู่ โดยอาจมีการน� ำวัสดุที่ต้องเตรียม และน� ำมาจากแหล่งที่ห่างไกลออกไป อย่างในสมัยโบราณที่ต้องน� ำก้อนหินหรือแผ่นหินจากเหมืองที่ห่างไกล เช่น การก่อสร้างพีระมิดของ ชาวอิยิปต์ การก่อสร้างวิหารของชาวกรีกโบราณ หรืออย่างในสมัยปัจจุบันที่ต้องน� ำวัสดุอุปกรณ์ เช่น เหล็ก ปูนซีเมนต์ ก้อนอิฐ แผ่นวัสดุ สุขภัณฑ์ โคมไฟ เครื่องปรับอากาศ ปั้นจั่น ที่ผลิตมาจากโรงงาน ที่ไกลออกไป มายังสถานที่ก่อสร้าง แต่งานส่วนใหญ่ที่จะท� ำให้วัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นใช้งานได้ก็ยังต้องกระท� ำ การในบริเวณที่ก่อสร้าง วิธีนี้เป็นวิธีการก่อสร้างที่เห็นกันอยู่ทั่วไป และใช้กันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=