ปี-39-ฉบับที่-3
The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 การก่อสร้างอาคาร * มติ ตั้งพานิช ราชบัณฑิต ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน การก่อสร้างอาคาร คือกระบวนการขั้นตอนในการบริหารจัดการน� ำวัสดุก่อสร้าง ช่างฝีมือ แรงงาน เครื่องมือ และอุปกรณ์ มาท� ำการก่อสร้างให้เป็นอาคารตามรูปแบบ ภายในเวลาที่ก� ำหนด และ งบประมาณที่ได้รับ การก่อสร้างอาคารเป็นอุตสาหกรรมประเภทหนึ่ง สถานที่ก่อสร้างอาคารเหมือนโรงงาน ก่อสร้างที่มีเครื่องมือเครื่องจักร วัตถุดิบ แรงงาน และการบริหารจัดการผลิตตัวอาคารอย่างเป็นระบบ ต่างกับโรงงานทั่วไปที่ส่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเสร็จแล้วออกจากโรงงานซึ่งยังคงอยู่กับที่ ไม่ย้ายไปไหน แต่ผลผลิต ของอุตสาหกรรมก่อสร้างซึ่งคือตัวอาคารกลับตั้งอยู่กับที่แทนโรงงานที่ย้ายออกไปเมื่อผลิตตัวอาคาร บทคัดย่อ การก่อสร้างอาคารมีแนวทางหลักอยู่ ๓ วิธี ซึ่งแต่ละวิธีมีเป้าหมายเดียวกันคือ การก่อสร้างอาคารให้แล้วเสร็จในเวลาที่ก� ำหนดและงบประมาณที่มีอยู่ ไม่มีกฎเกณฑ์หรือขอบเขต ของงานในแต่ละประเภทว่าต้องมีสัดส่วนหรือปริมาณงานจ� ำนวนเท่าใดจึงจะนับเป็นการก่อสร้าง วิธีนั้น การเลือกวิธีการก่อสร้างวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธี การแบ่งประเภทหรือปริมาณงานที่ต้อง ท� ำในสถานที่ก่อสร้างหรืองานที่ต้องเตรียมท� ำจากแหล่งภายนอก ซึ่งล้วนมีผลต่อการบริหารจัดการ งานก่อสร้างนั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้รับผิดชอบในงานก่อสร้าง ที่จะพิจารณาจากปัจจัยสภาวะ แวดล้อมและเงื่อนไขที่มีอยู่ ซึ่งรวมทั้งแบบก่อสร้างของสถาปนิก การก่อสร้างอาคารแต่ละหลัง แต่ละโครงการ ในแต่ละสถานที่ จึงอาจใช้วิธีการก่อสร้างที่เหมาะสมที่สุดวิธีเดียว หรือใช้วิธีการ ก่อสร้างที่ผสมผสานกันได้ วิธีการก่อสร้างอาคารแต่ละวิธีจึงมีความส� ำคัญต่อการออกแบบ ที่สถาปนิกจ� ำเป็นต้อง รู้และเข้าใจ เพื่อให้การออกแบบที่จะน� ำไปใช้ในงานก่อสร้างนั้นเหมาะสมกับการก่อสร้างแต่ละวิธี และท� ำให้การก่อสร้างอาคารด� ำเนินการไปให้แล้วเสร็จอย่างถูกต้อง เรียบร้อย ตามก� ำหนดการและ เป้าหมาย ค� ำส� ำคัญ : การก่อสร้างอาคารวิธีปรกติ, การก่อสร้างอาคารวิธีประกอบชิ้นส่วนส� ำเร็จรูป, การก่อสร้างอาคารวิธีระบบอุตสาหกรรม, ชิ้นส่วนส� ำเร็จรูป, มอดูล * บรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=