ปี-39-ฉบับที่-3

31 สมใจ นิ่ มเล็ ก วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ภาพที่ ๑๘ หลังคากันสาด พื้นพาไล หรือ พื้นพะไล คือ พื้นของเรือนไทยภาคกลางด้านข้างระดับพื้นดิน และพื้นของอาคาร ทางศาสนา เช่น พระอุโบสถที่อยู่ด้านนอกซึ่งเป็นด้านข้างของตัวพระอุโบสถ คล้ายกับระเบียงแต่ไม่มีทาง เข้าไปในตัวพระอุโบสถโดยตรง ส� ำหรับพื้นพาไลของเรือนไทยภาคกลางอยู่ระดับพื้นดินโดยมีหลังคายื่นยาวออกมาจากหลังคา กันสาดมีเสาตั้งรับ เพราะไม่สามารถใช้ไม้เท้าแขนหรือเหล็กแขนนางรองรับได้ หลังคาที่ยื่นยาวคลุม พื้นพาไลนี้เรียกว่า หลังคาพาไล หรือ หลังคาพะไล เสาที่รองรับหลังคาพาไล เรียกว่า เสานางเรียง เช่น กุฏิสงฆ์วัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี ส่วนพระอุโบสถที่มีพื้นต่อออกไปด้านข้างและมีหลังคาพาไลคลุมพื้นพาไลเพราะไม่มีหน้าต่าง มีแต่ช่องแสงเล็ก ๆ เพื่อให้แสงผ่านและอากาศถ่ายเทเท่านั้น หลังคาพาไลสร้างคลุมเสาที่รองรับหลังคา ซึ่งเรียกว่า เสาพาไล หรือ เสาพะไล ดังเช่นพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุราชิการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=