ปี-39-ฉบับที่-3
24 ความสั บสนในงานสถาปัตยกรรมไทย The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ภาพที่ ๗-๘ หลังคา ชั้นลด มุขลด องค์ประกอบของหลังคาที่เรียกกันหลากหลายและสับสนมากที่สุดคือ หลังคาปีกนก หลังคา กันสาด และหลังคาพาไลหรือหลังคาพะไล ค� ำว่าหลังคาปีกนกนั้นสมควรให้สับสน คงต้องศึกษาจากหลังคา ด้านหน้าจั่วซึ่งเป็นส่วนยื่นของไขราหน้าจั่ว ผืนหลังคานี้เริ่มจากใต้แผงหน้าจั่วเหนือ ขื่อเผล้ ลาดลงมาถึง เชิงกลอน ซึ่งเชิงกลอนด้านนี้จะเชื่อมต่อกับเชิงกลอนซ้ายขวาของหลังคาด้านข้าง หลังคาดังกล่าวนี้คือ หลังคาปีกนก การที่ต้องท� ำหลังคาปีกนกก็เพื่อให้มีชายคารอบตัวเรือนนั่นเอง นอกจากหลังคาปีกนกของเรือนไทยภาคกลางแล้ว ยังมีหลังคาปีกนกด้านหน้าบันของพระอุโบสถ วิหาร การเปรียญหลวงของวัดราชนัดดาราม รวมทั้งปีกนกของหมู่มหามณเฑียร พระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ และหอศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวัง ค� ำว่าหลังคา ปีกนก ที่ท� ำให้สับสนมากที่สุดคือ หลังคาพระอุโบสถที่เป็นจั่วเปิด ชนิดหลังคา ๓ ตับหลังคาตับที่ ๒ ของผืนหลังคาทั้ง ๒ ข้าง ก็เรียกว่า หลังคาปีกนก ดังที่หนังสือพุทธศิลปสถาปัตยกรรม ภาคต้นของ พ.พรหมพิจิตร หรืออาจารย์พระพรหม ท่านเรียกแผงปิดจั่วใต้หลังคาตับที่ ๒ ที่มีลวดลาย ตกแต่งว่า ลายหน้าอุดปีกนก ฉะนั้น หลังคาเหนืออุดปีกนกหรือหลังคาตับที่ ๒ ก็ต้องเป็น หลังคาปีกนก ด้วย โดยสรุปหลังคาปีกนก มีอยู่ ๓ ต� ำแหน่ง คือ หลังคาปีกนกของเรือนไทยภาคกลาง หลังคาปีกนกใต้ หน้าบันของพระอุโบสถและพระวิหารแบบจั่วปิด และหลังคาปีกนกของหลังคาตับที่ ๒ ของพระอุโบสถ และพระวิหารแบบจั่วเปิด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=