ปี-39-ฉบับที่-3
335 รื่ นฤทั ย สั จจพั นธุ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ แต่งได้โดยยาก ยังไม่เคยมีกวีคนใดได้พยายามแต่งมาแต่ก่อน อีกประการหนึ่ง ในทางภาษาซึ่งทรงปรุงชื่อ ตัวละครและภูมิประเทศถูกต้องตามยุคแห่งภารตวรรษ อันจ� ำนงให้เป็นตัวเรื่อง นับว่ารูปเรื่องปรุงดี จะแต่ง ได้แต่ด้วยพระปรีชาและสุตาญาณอันกว้างขวาง สมควรจะยกย่องตามพระราชบัญญัติแห่งวรรณคดีสโมสร” อันเป็นไปตามพระมติแก้ไขของ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ประทานไปยังสมเด็จฯ กรม พระด� ำรงราชานุภาพ และลงนามโดยคณะกรรมการวรรณคดีสมาคม ๕ พระองค์/ท่าน คือ สมเด็จฯ กรม พระด� ำรงราชานุภาพ สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลง กรณ หม่อมเจ้าปิยะภักดีนารถ และพระยาโบราณราชธานินทร์ ในช่วงเวลา ๑๒ ปีนับจากมีการตั้งวรรณคดีสโมสร (พ.ศ. ๒๔๕๗-๒๔๖๘) มีการประกาศยกย่อง หนังสือเพียง ๑๑ เล่ม แม้จะมีข้อบังคับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๐ ว่าจะพิจารณาปีละครั้ง แต่ในทางปฏิบัติก็มิได้ พิจารณาทุกปี แต่อย่างไรก็ตาม เราต้องยอมรับว่าวรรณคดีสโมสรมีบทบาทส� ำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งเสริม วรรณคดีไทย เพราะนับเป็นครั้งแรกที่มีการวางหลักเกณฑ์การพิจารณาวรรณคดีและงานประพันธ์ร่วมสมัย (รัชกาลที่ ๖) เพื่อประกาศยกย่องอย่างรอบคอบรัดกุม มีการคัดเลือกวรรณคดีเพื่อประกาศยกย่องอย่าง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=