ปี-39-ฉบับที่-3

333 รื่ นฤทั ย สั จจพั นธุ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชด� ำรัสตอบการที่คณะกรรมการวรรณคดี สโมสรและคณะกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณทูลเกล้าฯถวายใบประกาศนียบัตรวรรณคดีสโมสรและ เหรียญวชิรญาณ เมื่อวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๙ ( ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๓ (๑๔ มกราคม ๒๔๕๙) : ๒๘-๗๐ “เรื่องพระราชด� ำรัสตอบในการถวายประกาศนียบัตรวรรณคดีสโมสรแลเหรียญวชิรญาณ”) วันที่ ๖ มกราคม พระพุทธศักราช ๒๔๕๙ ข้าพเจ้ามีความพอใจแลยินดี เปนอย่างยิ่ง ที่ได้รับประกาศนิยบัตรซึ่งวรรณคดีสโมสรได้ให้ไว้ส� ำหรับแต่งเรื่อง พระนลค� ำหลวง อีกทั้งเหรียญวชิรญาณ ที่กรรมการหอพระสมุดได้พร้อมใจกันให้เพื่อ เหตุเดียวกัน การที่ข้าพเจ้าได้รับประกาศนิยบัตรนี้ เปนครั้งแรก ก็ย่อมเปนที่ปีติยินดี ในส่วนตัวข้าพเจ้าเปนอันมาก แลหวังด้วยว่าจะไม่ใช่ข้าพเจ้าคนเดียว ที่จะได้รับ ประกาศนิยบัตรแลเหรียญนี้ ต่อไปคงจะมีกวีนักเลงหนังสือไทยอุส่าห์พยายามที่จะได้ รับอีกเปนอันมาก ถ้าเปนได้เช่นนั้นแล้วจะนับว่าการตั้งวรรณคดีสโมสรขึ้นเปนประโยชน์ เปนอันมาก ข้าพเจ้าขอขอบใจกรรมการที่ได้ให้ประกาศนิยบัตรนี้ แลข้าพเจ้าจะรับไว้ด้วย ความยินดี แลตั้งใจจะรักษาไว้ด้วยความเคารพอันสมควรต่อไปทุกเมื่อฯ นิทานเบงคอลี ของรองอ� ำมาตย์เอก หลวงอนุมานราชธน (บรรดาศักดิ์ในขณะนั้น) และ พระมหาตรี (พระสารประเสริฐ) ได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการวรรณคดีสโมสรให้ได้รับ “ปกาสนียบัตร สามัญ” ในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ (เอกสารปฐมภูมิ ร ๖ บ ๑๒/๒๒ (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘) และมีประกาศลงราชกิจจานุเบกษาวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ เล่ม ๓๖ หน้า ๑๔๑๐-๑๔๑๑ พระยาอนุมานราชธนใช้ชื่อหนังสือแปลเล่มนี้ว่านิยาย เบงคาลี แต่การพิมพ์ต่อ ๆ มาพิมพ์เป็น ‘เบงคลี’ หนังสือเล่มนี้จึงได้ชื่อว่า นิยายเบงคลี มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากแปลหนังสือเล่มนี้โดยมีพระสาร ประเสริฐเป็นผู้ตรวจแก้ส� ำนวน ร่วมกันท� ำเชิงอรรถและภาคผนวกอธิบายตัวละคร สถานที่ และพิธีกรรม ต่าง ๆ โดยละเอียดแล้ว หลวงอนุมานราชธนยังได้ ร้อยเอก หลวงบวรบรรณรักษ์ (นิยม รักไทย) มาช่วย ท� ำภาคผนวกที่ค้างไว้ด้วย พระยาอนุมานราชธนได้บันทึกไว้ว่า “เวลานั้นรัฐบาลออกกฤษฎีกาประกาศตั้ง “วรรณคดีสโมสร” ขึ้นแล้ว และหนังสือนิยายเบงคาลี ก็ได้รับเกียรติยศ ได้รับประกาศนียบัตรยกย่องว่า เป็นหนังสือไทยเรื่องหนึ่งที่แต่งดีถึงขนาด แต่เกียรติยศนี้ตกแก่ข้าพเจ้าผู้เดียว เพราะวรรณคดีสโมสรไม่ อาจสามารถจะให้ประกาศนียบัตรแยกกันได้ อันที่จริงนิยายเบงคาลีก็เป็นนิยายตามธรรมดา แต่สมเด็จฯ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงด� ำรงต� ำแหน่งอุปนายกแห่งวรรณคดีสโมสร มีพระประสงค์จะทรงส่ง เสริมคนหนุ่มให้นิยมวรรณคดีไทย และแต่งหนังสือไทยให้เป็นภาษาไทย” (เสฐียรโกเศศ, ๒๕๕๑ : ๒๐๒)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=