ปี-39-ฉบับที่-3
331 รื่ นฤทั ย สั จจพั นธุ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ นอกจากนี้ พระยาอนุมานราชธนได้บันทึกถึง นิยายเบงคลี ไว้ในหนังสือ ฟื้นความหลัง ว่า “ข้ าพเจ้ าได้ ทราบจากขุนโสภิตฯ ว่ า กรรมการวรรณคดีสโมสรซึ่งเป็ นส่ วนหนึ่งของงานใน ราชบัณฑิตยสภา ๙ ได้ยกย่องหนังสือนิยายเบงคลี ซึ่งข้าพเจ้า และ “นาคะประทีป’ เป็นผู้แปล ว่าเป็นหนังสือ แต่งดี และนัดให้ข้าพเจ้าไปรับประกาศนียบัตรรับรองจากราชบัณฑิตยสภา” (เสฐียรโกเศศ, ๒๕๑๓ : ๒๐๘-๙) (ขีดเส้นใต้โดยผู้เขียนบทความ) ท่านยังเล่าต่ออีกว่าใบประกาศนียบัตรที่ได้รับมา มีตราประทับชาด เป็นรูปพระคเณศประทับบนแท่นอยู่ตอนบนของแผ่นกระดาษ ถัดลงมาเป็นข้อความยกย่องหนังสือ นิยายเบงคลี แต่จะมีรายละเอียดเป็นอย่างไรก็จ� ำไม่ได้ (เสฐียรโกเศศ, ๒๕๑๓ : ๒๐๘ ) อย่างไรก็ตาม พระยาอนุมานราชธนสันนิษฐานมูลเหตุที่ นิยายเบงคลี ได้การยกย่องไว้ว่า “คงหมายความว่าแต่งดีเป็น ส� ำนวนไทย ๆ แต่เห็นจะไม่ถึงขนาดเยี่ยมที่เป็นมาตรฐานตามกรรมการก� ำหนดไว้ก็เป็นได้” (เสฐียรโกเศศ, ๒๕๑๓ : ๒๐๙) และอีกตอนหนึ่งว่า “ไม่ใช่เรื่องแต่งดีถึงขนาดดีเยี่ยม แต่สมเด็จฯ (กรมพระยาด� ำรง ราชานุภาพ-ผู้เขียนบทความ) ทรงส่งเสริมให้ได้รับประกาศนียบัตรรับรอง ก็เพื่อให้คนอื่นสนใจและแต่ง หนังสือไทยเอาอย่างบ้าง อย่างน้อยให้ได้ถึงขนาดเพียงนี้ก็พอ” (เสฐียรโกเศศ, ๒๕๑๓ : ๒๑๐) ด้วยเหตุนี้จึงอาจสรุปได้ว่า การกล่าวสดุดีว่าวรรณคดีที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร เป็น “ยอด” ของวรรณคดีประเภทนั้น ๆ เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพใน ค� ำน� ำหนังสือ พระราชพิธีสิบสองเดือน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ ซึ่งได้น� ำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายให้พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาพระราชทานพระราชกระแสก่อนพิมพ์เผยแพร่ และได้รับพระราช กระแสเห็นชอบและมีพระบรมราชานุญาตแล้ว การกล่าวว่า มัทนะพาธา เป็นยอดแห่งบทละครพูดค� ำฉันท์ และ พระนลค� ำหลวง เป็นยอดของค� ำประพันธ์ประเภทค� ำหลวง ที่ปรากฏในเอกสารวิชาการชั้นหลัง จึง เป็นการยกย่องโดยอิงกับค� ำยกย่องชุดเดิม และยึดถือตามกันต่อมา วรรณคดีที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรทั้ง ๑๑ เรื่องดังกล่าวข้างต้น มีหลักฐานว่าได้ รับประกาศนียบัตรจากวรรณคดีสโมสรเพียง ๓ เรื่อง คือ พระนลค� ำหลวง นิยายเบงคลี และ มัทนะพาธา พระนลค� ำหลวง เป็นเรื่องเดียวที่ได้รับประกาศนียบัตรและเหรียญวชิรญาณ ใบประกาศนียบัตรของ เรื่อง พระนลค� ำหลวง ยังหาไม่พบ แต่มีข้อความในหนังสือของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด� ำรง ราชานุภาพ สภานายกหอพระสมุดวชิรญาณและอุปนายกวรรณคดีสโมสรทูลพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี เพื่อให้น� ำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์สภานายกวรรณคดีสโมสร ถึงมติที่ประชุมกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณส� ำหรับพระนครและ กรรมการวรรณคดีสโมสรซึ่งเห็นพ้องกันยกย่องหนังสือ พระนลค� ำหลวง และขอพระราชทานพระบรม ๙ พระยาอนุมานราชธนคงจะจ� ำสับสน เพราะอันที่จริงคือ คณะกรรมการหอพระ สมุดวชิรญาณส� ำหรับพระนคร และท่านได้รับ ใบประกาศนียบัตรที่หอพระสมุดวชิรญาณอันเป็นสถานที่ท� ำการของวรรณคดีสโมสร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=