ปี-39-ฉบับที่-3

๑๐๐ ปี วรรณคดี สโมสร 330 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ต่อมา ใน พ.ศ.๒๔๖๔ สมเด็จฯ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ “ค� ำอธิบายว่า ด้วยบทละครอิเหนาฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ” มีข้อความตอนหนึ่งว่า “ในบรรดาละครร� ำที่คนชอบ เรื่องอื่นเห็นจะไม่เสมอด้วยเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ วรรณคดีสโมสรก็ได้ตัดสินเมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๕๙ ว่าเป็นยอดของบทละครร� ำทั้งสิ้น เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดี พร้อมทั้งความ ทั้งกลอน ทั้งกระบวนที่จะเล่นละครประกอบกันทุกสถาน” (สมเด็จฯ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพ, ๒๕๑๒ : ก) (ขีดเส้นใต้โดยผู้เขียนบทความ) การที่สมเด็จฯ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพทรงระบุความเป็น “ยอด” ของวรรณคดีประเภท ต่าง ๆ ทั้ง ๘ เล่มไว้ จึงเป็นแนวทางให้นักวิชาการในชั้นหลังระบุความเป็นยอดของวรรณคดีที่ได้รับยกย่อง จากวรรณคดีสโมสรในเวลาต่อมาด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วพบว่า ในประกาศนียบัตรของวรรณคดีสโมสรที่ ประกาศยกย่องวรรณคดีหลังจากเรื่อง พระนลค� ำหลวง ก็ดี ในจดหมายของสมเด็จฯ กรมพระยาด� ำรงราชา นุภาพไปถึงกรมหลวงปราจีณกิติบดี ราชเลขานุการในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อถวาย รายงานเรื่องการตัดสินของวรรณคดีสโมสรก็ดี ก็เพียงระบุคุณลักษณะของหนังสือที่ได้รับยกย่องว่าเป็น “หนังสือดีและแต่งดี ” เท่านั้น เช่น ใน “ค� ำน� ำ” พระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพ ส� ำหรับหนังสือ สามก๊ก ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๗๑ ซึ่งช� ำระเป็นครั้งแรกโดยราชบัณฑิตยสถาน มีความว่า “สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตฯ ทรงปรารภการพระกุศลอันจะบ� ำเพ็ญสนอง พระคุณสมเด็จพระชนนี ด� ำรัสปรึกษาข้าพเจ้าถึงเรื่องหนังสือซึ่งจะทรงพิมพ์เป็นมิตรพลีส� ำหรับประทาน ในงานพระเมรุ โปรดเรื่อง สามก๊กด้วยทรงพระด� ำริว่าเป็นหนังสือซึ่งนับถือกันมาว่าแต่งดีทั้งตัวเรื่อง และส� ำนวนที่แปลเป็นภาษาไทย ถึงได้ใช้เป็นต� ำราเรียนอยู่อีกเรื่องหนึ่ง” (สมเด็จฯ กรมพระยาด� ำรงราชา นุภาพ, ๒๕๓๖ : (๑๙) ) (ขีดเส้นใต้โดยผู้เขียนบทความ) ในหนังสือกราบทูลยกย่องเรื่อง พระนลค� ำหลวง และทูลเกล้าฯ ถวายประกาศนียบัตรและเหรียญ วชิรญาณแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้อ้างถึงความเห็นของคณะกรรมการวรรณคดี สโมสรว่า พระนลค� ำหลวง เป็น “หนังสือดีแลแต่งดีในกวีนิพนธ์” (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร, ร. ๖ บ. ๑๐/๑๔ อ้างถึงใน สารานุกรมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม ๒ ย-อ, ๒๕๒๔ : ๖๕๖) (ขีดเส้นใต้โดยผู้เขียนบทความ) บทละครพูดค� ำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นเรื่องเดียวที่พิมพ์ใบประกาศนียบัตรซึ่งลงนามคณะ กรรมการ พร้อมประทับตราพระราชลัญจกรพระคเณศร์ของวรรณคดีสโมสรในฉบับพิมพ์เผยแพร่ตลอด มา ในใบประกาศนียบัตรก็ระบุเพียงว่า “เป็นหนังสือแต่งดี” (ขีดเส้นใต้โดยผู้เขียนบทความ) มิได้ยกย่อง ว่าเป็นยอดของบทละครพูดค� ำฉันท์แต่อย่างใด

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=