ปี-39-ฉบับที่-3
329 รื่ นฤทั ย สั จจพั นธุ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ๑๐. นิทานเบงคอลี ๗ ผลงานแปลของเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป ๑๑. มัทนะพาธา พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มักกล่าวอ้างกันต่อ ๆ มาว่า วรรณคดีเหล่านี้เป็น “ยอด” หรือ เป็น “เลิศ” ในประเภทใด ประเภทหนึ่ง เช่น ลิลิตพระลอ เป็นยอดแห่งลิลิต สามก๊ก เป็นยอดของความเรียงเชิงนิทาน ฯลฯ ความ จริงแล้วการยกย่องว่าเป็น “เลิศ” หรือ เป็น “ยอด” ในวรรณคดีประเภทนั้น ๆ ไม่ได้ประกาศโดยตรงจาก วรรณคดีสโมสร แต่ที่กล่าวอ้างกันต่อ ๆ มาว่าวรรณคดีเหล่านี้เป็นยอดหรือเป็นเลิศในประเภทต่าง ๆ ได้ อ้างอิงตามถ้อยค� ำของสมเด็จฯ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพ ซึ่งเป็นสภานายกหอพระสมุดวชิรญาณและ อุปนายกวรรณคดีสโมสร เมื่อพระองค์ทรงพระนิพนธ์ “ค� ำอธิบาย” วรรณคดีเรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๖๓ สมเด็จฯ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ถึงการพิจารณาหนังสือของวรรณคดีสโมสร และระบุความเป็น ยอดของวรรณคดีแต่ละเรื่องซึ่งจะยกขึ้นไว้เป็นตัวอย่าง ดังข้อความต่อไปนี้ ๘ “ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๕๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ วรรณคดีสโมสร และทรงตั้งคณะกรรมการส� ำหรับพิจารณาหนังสือไทยที่แต่งดี ควรยกย่องตามพระราช บัญญัตินั้น เมื่อกรรมการปรึกษากันเลือกเรื่องซึ่งจะยกขึ้นไว้เป็นตัวอย่าง ว่าเป็นยอดของหนังสือที่แต่งดี ในประเภทนั้น ๆ ได้ตัดสินโดยความเห็นชอบพร้อมกันดังนี้ว่า ลิลิต พระลอ เป็นยอดของกลอนลิลิต ฉันท์ สมุทรโฆษ เป็นยอดของกลอนฉันท์ กาพย์ มหาชาติค� ำเทศน์ เป็นยอดของกลอนกาพย์ กลอน เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นยอดของกลอนสุภาพ บทละคร เรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ เป็นยอดของกลอนบทละครร้อง บทละคร เรื่องหัวใจนักรบ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ เป็นยอดของบทละครพูด นิทาน เรื่องสามก๊ก ความเจ้าพระยาพระคลังหน เป็นยอดของความเรียงเรื่องนิทาน อธิบาย เรื่องพระราชพิธี ๑๒ เดือน พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ เป็นยอดของ ความเรียงอธิบาย” ๗ ในเอกสารปฐมภูมิ ร ๖ บ ๑๒/๒๒ ระบุว่าชื่อ ในประกาศนียบัตรใช้ว่า นิทานเบงคอลี ในประกาศนียบัตร ใช้ว่า นิยายเบ็งคลี แต่ใน “ ชีวิตพระสารประเสริฐที่ข้าพเจ้ารู้ ” พระยาอนุมานราชธนจะเรียกชื่อผลงานประพันธ์เรื่องนี้ว่า ในประกาศนียบัตรใช้ว่า นิยายเบงคาลี โดยตลอด และเล่าด้วยว่าในครั้งนั้น เขียนว่า ในประกาศนียบัตรใช้ว่า เบงคลี จึงกลายเป็นว่าในการพิมพ์ครั้งต่อ ๆ มา หนังสือเล่มนี้ ใช้ชื่อว่า นิยายเบงคลี เรื่อยมาจนปัจจุบัน ๘ อ้างถึงใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, “ค� ำน� ำ”, พระราชพิธีสิบสองเดือน เล่ม ๑, พระนคร : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๐๖, หน้า ฆ-ง.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=