ปี-39-ฉบับที่-3

๑๐๐ ปี วรรณคดี สโมสร 326 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 อนึ่ง ไม่มีหลักฐานว่าวรรณคดีที่ยกย่องเป็นตัวอย่าง ๘ เรื่อง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ ได้รับ ประกาศนียบัตร เช่นเดียวกับเรื่อง พระนลค� ำหลวง แต่ผู้เขียนเห็นว่าน่าจะไม่มีการมอบประกาศนียบัตร หรือได้รับประโยชน์ตามมาตรา ๙ ของพระราชกฤษฎีกาวรรณคดีสโมสรแต่อย่างใด เพราะการพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้ประทับตราพระราชลัญจกรพระคเณศร์ในหนังสือวรรณคดีเหล่านี้เมื่อมีการจัดพิมพ์ นั้น มาปรากฏใน พ.ศ. ๒๔๖๒ ๕ หลังจากนั้น มีผู้ส่งหนังสือให้คณะกรรมการวรรณคดีสโมสรพิจารณา ต่อมาในวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐ กรรมการวรรณคดีสโมสรได้รับพระบรมราชานุญาตให้ตั้งข้อบังคับส� ำหรับพิจารณาหนังสือ ในวรรณคดีสโมสร และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ ๓๔ วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๔๖๐ หน้า ๖๘-๗๑ ดังนี้ หมวด ๑ ว่าด้วยการขอประกาศนียบัตร ข้อ ๑ หนังสือเรื่องใดที่จะให้กรรมการวินิจฉัยว่าควรจะได้รับประกาศนียบัตร วรรณคดีสโมสรหรือไม่นั้น ผู้แต่งหรือผู้เปนเจ้าของกรรมสิทธิ์จะขอให้กรรมการพิจารณา ก็ได้ กรรมการหรือสมาชิกวรรณคดีสโมสรคนใดจะขอให้กรรมการพิจารณาก็ได้ แต่ ถ้าเปนหนังสือซึ่งตัวผู้แต่งยังอยู่ หรือถ้าไม่มีตัวผู้แต่ง แต่เปนหนังสือซึ่งมีเจ้าของถือ กรรมสิทธิ์ ถ้าผู้แต่งหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ไม่ให้อนุมัติให้พิจารณา กรรมการจะไม่พิจารณา ข้อ ๒ เพราะหนังสือที่แต่งดีทั้งหนังสือเก่าแลหนังสือใหม่มีมากด้วยกัน ใช่ วิไสยที่กรรมการจะพิจารณาให้เสร็จสิ้นไปหมดได้ในคราวเดียวหรือปีเดียว แม้หนังสือ แต่งใหม่ที่พิมพ์โฆษณาในปีใด จะพิจารณาให้หมดในปีนั้นก็ไม่ได้ ด้วยเหตุนี้หนังสือเรื่อง ใดเก่าก็ดี ใหม่ก็ดี ที่กรรมการยังไม่ได้ตัดสินให้ประกาศนียบัตร ไม่ใช่แปลว่ากรรมการ ไม่เห็นว่าดีควรได้ประกาศนียบัตร ต้องเข้าใจแต่ว่ายังไม่ได้พิจารณา ถึงหนังสือเรื่องใด ที่พิจารณาแล้วแลไม่ยอมให้ประกาศนียบัตร ถ้าเจ้าของเอาไปตกแต่งแก้ไขเสียดี จะขอ ให้พิจารณาอีกก็ได้ ๕ ในหนังสือของสมเด็จฯ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพทูลกรมหลวงปราจิณกิติบดีเพื่อน� ำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ รายงานมติของที่ประชุมคณะกรรมการวรรณคดีสโมสรที่ตัดสิน ให้ นิทานเบงคอลี ได้รับประกาศนียบัตรนั้น มีข้อความอีกตอนหนึ่งกล่าวถึงวรรณคดี ๘ เรื่องที่ได้ยกย่องเป็นตัวอย่างวรรณคดี เมื่อครั้ง ทูลเกล้าฯ ถวายประกาศนียบัตรพระราชนิพนธ์เรื่องพระนลค� ำหลวง ว่า “หนังสือ ๘ เรื่องนี้ เวลาพิมพ์ควรจะประทับพระราชลัญจกร พระคเณศร์ส� ำหรับวรรณคดีได้ทุกเรื่อง แต่นี้จะควรประการใดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ” พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสเห็นชอบตามที่กราบทูลเสนอ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, “หนังสือกราบทูลของสมเด็จฯ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพเรื่องการตัดสินของวรรณคดี สโมสร”, ร. ๖ ๑๒/๒๒ (พ.ศ. ๒๔๕๕-๒๔๖๘)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=