ปี-39-ฉบับที่-3
325 รื่ นฤทั ย สั จจพั นธุ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ วรรณคดีที่ได้รับการประกาศยกย่องอย่างเป็นทางการเรื่องแรก ใน พ.ศ. ๒๔๕๙ คือ พระนลค� ำหลวง พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นการยกย่องอย่าง พิเศษสูงสุด คือ ทูลเกล้าฯ ถวายประกาศนียบัตรและเหรียญวชิรญาณ อัน “ควรเปนเกียรติยศพิเศษ แต่ผู้ซึ่งสามารถจะแต่งหนังสือเช่นนี้ได้” ๔ เพราะนอกจาก พระนลค� ำหลวง จะเป็นเรื่องดีและแต่งดี ในประเภทกวีนิพนธ์แล้ว ยังเป็นวรรณคดีที่ “ผู้แต่งต้องประกอบด้วยความรู้กว้างขวาง ใช่วิไสยกวีสามัญ จะแต่งได้” และ “เปนหนังสือใหญ่ ท� ำได้แต่ด้วยวิริยอุตสาหอันแรงกล้า” ๔ เป็นส� ำเนาข้อความในใบประกาศนียบัตรหนังสือ พระนลค� ำหลวง ที่สมเด็จฯ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพ ประทานให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ เพื่อทรงพิจารณาเปรียบเทียบกับร่างข้อความในประกาศนียบัตรหนังสือ มัทนะพาธา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ ข้อความ ดังกล่าวเป็นท� ำนองเดียวกับข้อความในหนังสือที่สมเด็จฯ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพทูลพระเจ้าพี่ยาเธอ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี ราชเลขานุการเพื่อน� ำความขึ้นกราบบังคมทูล มติที่ประชุมกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณส� ำหรับพระนคร และกรรมการวรรณคดีสโมสร เมื่อ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, “หนังสือกราบทูลของสมเด็จฯ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพ เรื่องกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณ วรรณคดี สโมสร ทูลเกล้าฯ ถวายประกาศนียบัตรและเหรียญวชิรญาณ” ร. ๖ บ. ๑๐/๑๔ (๑๙-๒๑ ธันวาคม ๒๔๕๙)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=