ปี-39-ฉบับที่-3
๑๐๐ ปี วรรณคดี สโมสร 324 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพ อุปนายก พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ หม่อมเจ้าปิยะภักดีนารถ พระยาธรรมศักดิ์มนตรี พระยาศรีภูริปรีชา พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เตชะคุปต์) กรรมการ และ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา กรรมการและเลขานุการ จากนั้น ในวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพ อุปนายกวรรณคดีสโมสรมีหนังสือทูลพระเจ้า พี่ยาเธอ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี ราชเลขานุการ ให้น� ำความขึ้นกราบบังคมทูล มติที่ประชุมคณะกรรมการวรรณคดีสโมสรซึ่งเห็นพร้อมกันว่าพระราชนิพนธ์เรื่อง พระนลค� ำหลวง “เปนหนังสือเรื่องดีและแต่งดีในกวีนิพนธ์ ต้องตามพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสร” จึงกราบบังคมทูล ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายประกาศนียบัตรของวรรณคดีสโมสร และเหรียญวชิรญาณ ในวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๙ ๒ เนื่องต่อพิธีเสด็จพระราชด� ำเนินไปเปิดหอ พระสมุดวชิรญาณส� ำหรับพระนครเนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ดังนั้น สรุปได้ว่า วรรณคดีสโมสรยกย่องหนังสือที่มีลักษณะตามที่ก� ำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา เป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. ๒๔๕๙ หลังตั้งวรรณคดีสโมสรแล้ว ๒ ปี ในชั้นแรก มีการคัดเลือกหนังสือเพื่อ ยกย่องเป็นตัวอย่างวรรณคดี ๘ เรื่อง คือ ลิลิตพระลอ สมุทรโฆษค� ำฉันท์ มหาชาติกลอนเทศน์ เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน บทละครเรื่องอิเหนา บทละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ พระราชพิธี ๑๒ เดือน และ สามก๊ก ทั้ง ๘ เรื่องนี้วรรณคดีสโมสรยกย่องเป็นตัวอย่างของหนังสือ ๘ ประเภทตามที่ก� ำหนดไว้ในข้อบังคับ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ละครร� ำ ละครพูด อธิบาย นิทาน ตามล� ำดับ และเลือกน� ำตอนหนึ่งของวรรณคดี ๘ เรื่องนี้ไปวาดเป็นภาพประดับกรอบของใบประกาศนียบัตรที่จะมอบแก่ผู้แต่งหนังสือที่ได้รับการยกย่อง จากวรรณคดีสโมสร ภาพตอนส� ำคัญในวรรณคดีปรากฏในกรอบใบประกาศนียบัตรโดยอยู่ในวงกลม เรียงลงมาข้างละ ๔ ภาพ ในวงกลมข้างซ้ายระบุค� ำว่า โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ในวงกลมข้างขวาระบุ ค� ำว่า ลครร� ำ ลครพูด อธิบาย นิทาน ไว้ในภาพด้วย นอกจากภาพวรรณคดีแล้ว กรอบตกแต่งด้วยลาย กนกอย่างงดงาม ๓ ๒ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เดือนปีใหม่ของไทยยังเป็นเดือน ๕ หรือเดือนเมษายน ฉะนั้นเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๕๙ จึงเป็นเดือนในช่วงปลายปี ๒๔๕๙ ๓ ผู้ออกแบบใบประกาศนียบัตรน่าจะเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ผู้เขียนขอขอบคุณ รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ดวงพัตรา ผู้เอื้อเฟื้อภาพประกอบ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=