ปี-39-ฉบับที่-3

323 รื่ นฤทั ย สั จจพั นธุ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ “กรมพระด� ำรงกราบบังคมทูลพระกรุณาว่ า ในงานเปิดหอ พระสมุดเนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษาปีนี้ คิดด้วยเกล้าด้วย กระหม่อมว่า จะได้ทูลเกล้าฯ ถวาย ‘ดิโปลมา’ รูปของดิโปลมานั้น บัดนี้ ก� ำลังเขียนอยู่ มีกรอบเป็นลายภาพประดิษฐ์ขึ้นจากหนังสือซึ่งนับว่าเป็น ‘แคล๎สิค’ ตามประเภทแห่งหนังสือนั้น เช่นเรื่อง หัวใจนักรบ มีตอนเทศาภิบาล แสดงความยินดีที่พระภิรมย์เปนเสือป่า เรื่อง สามก๊ก มีรูปขงเบ้งดีดพิณ เปนต้น ในการเลือกหนังสือว่าด้วยเรื่องใดควรจัดว่าเปน ‘แคล๎สิค’ นั้น กรมพระด� ำรงได้ทรงปฤกษาหาฤๅเห็นด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมว่า ตาม พระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสร จัดหนังสือไว้เปน ๘ ประเภท และในประเภท ๑ เห็นด้วยเกล้าฯ ว่ามีเรื่องที่จะควรยก ขึ้นเปนตัวอย่างได้ดังต่อไปนี้ ๑. โคลง = พระลอ ๒. ฉันท์ = สมุทโฆษ ๓. กาพย์ = มหาชาติ ๔. กลอน = ขุนช้างขุนแผน ๕. ลครร� ำ = อิเหนา ๖. ละครพูด = หัวใจนักรบ ๗. อธิบาย = พระราชพิธี ๑๒ เดือน ๘. นิทาน = สามก๊ก ทั้งนี้จะควรประการใดขอเรียนพระราชปฏิบัติ” ข้อความข้างต้น แสดงให้เห็นว่ามีการคัดเลือกหนังสือวรรณคดีตามประเภทและลักษณะ ที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกาวรรณคดีสโมสรแล้ว จ� ำนวน ๘ เรื่อง โดยระบุว่า “เพื่อยกเปนตัวอย่าง” และน� ำเนื้อความตอนที่เด่นของหนังสือทั้ง ๘ เรื่องดังกล่าวมาวาดภาพประดิษฐ์เพื่อบรรจุในกรอบของ “ดิโปลมา” ที่จะทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว บันทึกกราบทูลดังกล่าวนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะสภานายกวรรณคดีสโมสรพระราชทานพระราชกระแส เห็นชอบ ต่อมา มีการประชุมคณะกรรมการวรรณคดีสโมสรครั้งที่ ๑ “ที่หอพระสมุดวชิรญาณ ณ วันศุกร์ที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ เวลาเช้า ๕ โมง” ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=