ปี-39-ฉบับที่-3
321 รื่ นฤทั ย สั จจพั นธุ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ฤๅใช้วิธีผูกประโยคประธานตามแบบภาษาต่างประเทศ (เช่นใช้ค� ำว่า “ไปจับรถไฟ” แทน “ไปขึ้นรถไฟ” ฤๅ “โดยสารรถไฟ” แล “มาสาย” แทน “มาช้า” ฤๅ “มาล่า” ดังนี้เปนตัวอย่าง) อนึ่ง หนังสือใดที่แปลจากภาษาต่ างประเทศ ต้องมีแสดงไว้ ชัดเจนว่ า แปลจากภาษาใด ผู้แต่งเดิมชื่อไร ถ้าสมาชิกโดยมากเห็นว่า หนังสือเรื่องนั้นเปนหนังสือดีมีคุณวิเศษสมบูรณ์ ดังกล่าวมาแล้วในมาตรานี้ ก็ให้เลขานุการน� ำความขึ้นกราบบังคมทูล แด่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้เปนสภานายก ถ้าทรงพระราชด� ำริห์เห็นชอบด้วยแล้วจะทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หนังสือเรื่องนั้นได้รับประโยชน์จากวรรณคดีสโมสรตามสมควร มาตรา ๙ ประโยชน์ที่วรรณคดีสโมสรจะให้แก่หนังสือที่แต่งดี ดังกล่าวมาแล้วในมาตรา ๘ นั้น มี ๓ อย่าง คือ ๑. ถ้าเปนหนังสือแต่งใหม่อันชอบด้วยพระราชบัญญัติกรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ ร.ศ. ๑๒๐ จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประทับพระราชลัญจกรส� ำหรับวรรณคดีสโมสร เปนส� ำคัญในต้นฉบับที่ไปจดทะเบียน สถาน ๑ ๒. ถ้าทรงพระราชด� ำริห์เห็นสมควร จะพระราชทานบ� ำเหน็จรางวัลแก่ตัวผู้แต่งด้วยอิกสถาน ๑ ๓. ถ้าเปนหนังสือซึ่งโบราณบัณฑิตแต่งไว้ แลไม่เข้าในพระราชบัญญัติกรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ ร.ศ. ๑๒๐ จะได้ประทับส� ำเนาพระราชลัญจกรส� ำหรับวรรณคดีสโมสรในฉบับที่พิมพ์ โดยลักษณที่จะกล่าวต่อไปในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๐ บรรดาหนังสือซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประทับพระราชลัญจกร ส� ำหรับวรรณคดีสโมสร ดังกล่าวมาแล้วในมาตรา ๙ นั้น เมื่อจะพิมพ์โฆษณา ให้ใช้ส� ำเนาพระราชลัญจกร นั้น จะเปนขนาดใดๆ ก็ตาม พิมพ์ไว้ได้เปนส� ำคัญในหนังสือนั้น แต่หนังสือที่จะพิมพ์ส� ำเนาพระราชลัญจกร ดังกล่าวมานี้ ต้องให้กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณตรวจดูใบพิมพ์แลเห็นชอบด้วยก่อน จงทุกคราวที่พิมพ์ ถ้าผู้ใด แม้เจ้าของกรรมสิทธิ์หนังสือนั้นเอง จะเอาไปพิมพ์โดยไม่ได้ให้กรรมการหอพระสมุด วชิรญาณตรวจใบพิมพ์ก่อนก็ดี ฤๅตัดเติมหนังสือเรื่องนั้นโดยมิได้รับอนุญาตของวรรณคดีสโมสรก่อนก็ดี ห้ามมิให้ใช้ส� ำเนาพระราชลัญจกรส� ำหรับวรรณคดีสโมสรในฉบับนั้น ๆ เปนอันขาด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=