ปี-39-ฉบับที่-3
๑๐๐ ปี วรรณคดี สโมสร 320 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นสภานายก และโปรดเกล้าฯ ให้สภานายก หอพระสมุดวชิรญาณเป็นอุปนายก กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณเป็นกรรมการ และเป็นสมาชิกโดย ต� ำแหน่ง มีเลขานุการ ๑ คน นอกจากนี้ ผู้ที่มีคุณวุฒิและได้แต่งหรือแปลหนังสือไว้ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งให้เป็นสมาชิกวรรณคดี สโมสรตามที่ทรงพระราชด� ำริเห็นสมควร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตรวจแก้ไข “ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งวรรณคดี สโมสร” ซึ่งมี ๗ มาตราด้วยพระองค์เอง และพระราชทานพระราชกระแสให้เพิ่มคุณลักษณะของหนังสือ ลักษณะของหนังสือแปล และประเภทของหนังสือที่จะพิจารณายกย่อง ซึ่งต่อมาปรากฏเป็นมาตราที่ ๗ และ ๘ ของพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสร ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๕๗ ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๓๑ (๒ สิงหาคม ๒๔๕๗) หน้า ๓๐๙-๓๑๔ พระราชกฤษฎีกาวรรณคดี สโมสรมี ๑๐ มาตรา มาตราที่ส� ำคัญ คือ มาตราที่ ๗, ๘, ๙ และ ๑๐ ซึ่งมีข้อความดังนี้ มาตรา ๗ หนังสือเรื่องใดจะเป็นหนังสือซึ่งโบราณบัณฑิตแต่งไว้ก็ดี หนังสือปัจจุบันบัณฑิตแต่ง ขึ้นใหม่ก็ดี ในประเภทเหล่านี้ ได้แก่ ๑) กะวีนิพนธ์ คือ เปนโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ๒) ลครไทย คือ แต่งเปนกลอน ๘ มีก� ำหนดน่าพาทย์ ฯลฯ ๓) นิทาน คือ เรื่องราวอันผูกขึ้นแลแต่งเปนร้อยแก้ว ๔) ลครพูด ๕) อธิบาย (คือ “เอ๊สเซย์” ฤๅ “แปมเฟลต”) แสดงด้วยศิลปวิทยาฤๅกิจการอย่างใดอย่าง ๑ (แต่ไม่ใช่ต� ำราฤๅแบบเรียนฤๅความเรียงเรื่องโบราณคดี มีพงษาวดาร เปนต้น) ให้นับว่า เปนหนังสือซึ่งควรพิจารณาในวรรณคดีสโมสร ตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๘ หนังสือใน ๕ ประเภทซึ่งกล่าวในมาตรา ๗ นั้น เรื่องใดสมาชิกวรรณคดีสโมสรได้ ตรวจพิจารณาเห็นพร้อมกัน ฤๅโดยมากด้วยกัน ว่ามีคุณวิเศษดังจะว่าต่อไปนี้บริบูรณ์คือ ๑) เปนหนังสือดี กล่าวคือเปนเรื่องที่สมควรซึ่งสาธารณชนจะอ่านได้โดยไม่เสียประโยชน์ คือ ไม่เปนเรื่องทุภาษิต ฤๅเปนเรื่องที่ชักจูงความคิดผู้อ่านไปในทางอันไม่เปนแก่นสาร ฤๅซึ่งจะชวนให้คิดวุ่นวายไปในทางการเมือง อันจะเปนเครื่องร� ำคาญแก่รัฐบาลของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้เปนต้น ๒) เปนหนังสือที่แต่งดี ใช้วิธีเรียบเรียงอย่างใด ๆ ก็ตาม แต่ต้องให้เปนภาษาไทยอันดีถูกต้อง ตามเยี่ยงที่ใช้ในโบราณกาล ฤๅในปัตยุบันกาลก็ได้ ไม่ใช่ใช้ภาษาซึ่งเลียนภาษาต่างประเทศ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=