ปี-39-ฉบับที่-3
319 รื่ นฤทั ย สั จจพั นธุ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ด้วยทุกวันนี้ผู้แต่งหนังสือแลผู้อ่านหนังสือก็มีมากขึ้นกว่าแต่ก่อนทั้ง ๒ จ� ำพวก แต่ฝ่ายข้างผู้แต่งยังไม่ใคร่จะเอาใจใส่ในทางภาษา ฤๅพยายามแต่งเรื่อง อันประกอบด้วยคุณวิชาสารประโยชน์ มักแต่แต่งเอาอย่างผู้อื่นตาม ๆ กันไป ที่แปลจากภาษาต่างประเทศ ก็มักแปลแต่หนังสือซึ่งเปนเรื่องอย่างเลวในภาษา นั้น ๆ แลมักชอบหันเหียนเปลี่ยนวิธีเรียบเรียงภาษาไทยตามประโยคภาษา ต่างประเทศ ด้วยความโง่เขลาแลส� ำคัญว่าโวหารอย่างนั้นเปนของเหมาะเจาะ สมควรแก่สมัยใหม่ มิได้รู้ว่าการที่ท� ำอย่างนั้น เปนการท� ำลายภาษาของตนเองให้ เสียไป ส่วนผู้อ่านที่อยากจะอ่านหนังสือ ก็พบแต่หนังสือที่กล่าวมานี้มากขึ้นทุกที บางคนจนถึงไปหลงนิยมว่า ภาษาแลวิธีแต่งหนังสือเช่นว่าเปนการเปลี่ยนแปลง อย่างดีที่เกิดขึ้นในวิชาหนังสือสมัยใหม่ เมื่อการเปนอยู่ดังนี้ ทรงพระราชด� ำริห์ เห็นว่า สมควรจะจัดการอย่างใดอย่าง ๑ อุดหนุนวิชาแต่งหนังสือภาษาไทย ให้ดีขึ้น แลพ้นจากความเข้าใจผิดทั้งผู้แต่งแลผู้อ่าน ดังกล่าวมาแล้ว ท� ำนองดังที่ สมเด็จพระบรมชนกนารถได้ทรงท� ำนุบ� ำรุงการศึกษาโบราณคดีมาแต่ก่อน จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งวรรณคดีสโมสรขึ้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=