ปี-39-ฉบับที่-3
๑๐๐ ปี วรรณคดี สโมสร 318 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ความน� ำ นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐบาลก� ำหนดให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทย แห่งชาติ เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตส� ำนึกของคนไทยทั้งชาติ ให้ตระหนักถึงความส� ำคัญและคุณค่าของ ภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันท� ำนุบ� ำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็น สมบัติวัฒนธรรมอันล�้ ำค่าของชาติ ให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป การก� ำหนดให้เป็นวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ก็เพื่อ ร� ำลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชด� ำเนินไปเป็นองค์ประธานและ ทรงร่วมอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้ภาษาไทย” จัดโดยชุมนุมภาษาไทย ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ความพยายามในการท� ำนุบ� ำรุงรักษาการใช้ภาษาไทยไม่ให้สูญเสียเอกลักษณ์ของความเป็นไทย เป็นภารกิจต่อเนื่องตลอดเวลาของพระมหากษัตริย์ไทย ดังที่ผู้เขียนเคยน� ำเสนอบทความเรื่อง “๑๐๐ ปีสมาคมแก้ภาษา สมาคมรักษาภาษาไทย และนิรุกติสมาคม” เพื่อแสดงให้เห็นพระราชกรณียกิจของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในการจัดตั้งสมาคม แห่งหนึ่งเพื่อบ� ำรุงรักษาภาษาไทยให้ถูกต้อง เหมาะสม งดงาม สมสมัยแห่งภาษา (รื่นฤทัย สัจจพันธุ์, ๒๕๕๒ : ๑๓-๓๙) นอกจากนี้ การรักษาภาษาไทยที่ดีงามให้ด� ำรงไว้เป็นแบบอย่างแก่คนรุ่นหลังอีกทาง หนึ่งคือการสร้างสรรค์วรรณคดีอันมีศิลปะแห่งการประพันธ์อย่างสูงและมีการใช้ภาษาที่ไพเราะ งดงาม มีความหมายลึกซึ้ง ดังนั้น วรรณคดีสโมสร ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ ท� ำหน้าที่คัดเลือกหนังสือดีทั้งเนื้อหาและศิลปะการประพันธ์ และประกาศยกย่องให้เป็นแบบอย่างแก่ สาธารณชนในรัชสมัยของพระองค์ วรรณคดีที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรเป็นที่ยอมรับในคุณค่าแห่ง ความเป็นวรรณคดีชั้นเยี่ยมมาจนถึงปัจจุบัน วรรณคดีสโมสร วรรณคดีสโมสรเป็นสมาคมเพื่อส่งเสริมการประพันธ์และการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องที่ตั้งขึ้น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้ง วรรณคดีสโมสร ขึ้น และ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ เพื่อด� ำเนินตามรอยพระยุคลบาท ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงตั้ง โบราณคดีสโมสร เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์และ โบราณคดีของชาติ และเพื่อทรงสืบทอดพระราชประสงค์ของพระบรมชนกนาถที่จะอุดหนุนท� ำนุบ� ำรุง การแต่งกาพย์กลอนและความเรียงร้อยแก้วในภาษาไทยให้ดีขึ้น ดังที่มีพระราชด� ำริในการจัดตั้งสมาคม แก้ภาษา และด� ำเนินงานไปบางส่วนแล้ว แต่ยังมิได้ทรงจัดการให้ลุล่วงในรัชสมัยของพระองค์ มูลเหตุการ ตั้งวรรณคดีสโมสรระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=