ปี-39-ฉบับที่-3
307 ไพโรจน์ ทองค� ำสุก วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ตัวอย่างบทละครเรื่องเลือดสุพรรณ ที่กล่าวถึงดวงจันทร์ - ร้องเพลงดวงจันทร์- (มังราย) ดวงจันทร์ งามพักตร์พิศเพียง พระจันทร์ (ดวงจันทร์) อย่ามาแกล้งยอฉัน ฉันเป็น ดวงจันทร์ ที่ถูกเมฆบัง เมื่อเมฆขยาย จันทร์ จะฉายท้องฟ้า (มังราย) แต่ไม่ลอยลงมา พี่ก็ไม่มีหวัง (ดวงจันทร์) จะหวังอะไร ที่ในตัวฉัน (มังราย) พี่รัก ดวงจันทร์ อยู่เจียนจะคลั่ง ห่วงการข้างหน้า พะว้าพะวัง (ดวงจันทร์) แล้วยังห่วงหลัง อยู่ทางเมืองโน้น (มังราย) ดวงจันทร์ งามพักตร์พิศเพียง พระจันทร์ (ดวงจันทร์) อย่ามาแกล้งยอฉัน ฉันเป็น ดวงจันทร์ ที่เมฆบัง เมื่อเมฆขยาย จันทร์ จะฉายท้องฟ้า (มังราย) แต่ไม่ลอยลงมา พี่ก็ไม่มีฝัน (ดวงจันทร์) จะฝันอะไร ในตัวคนยาก (มังราย) พี่ฝันจะฝาก ชีพไว้สุพรรณ (ดวงจันทร์) พอเสร็จการทัพ คงกลับเขตขัณฑ์ (มังราย) จะมาหา ดวงจันทร์ ไม่ไปอื่นเลย บทบาทของพระจันทร์ในการเปรียบเทียบความงามของบุรุษ การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดส� ำมนักขาหึง ส� ำมนักขาเป็นตัวโขนที่มีความส� ำคัญตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ และนับได้ว่าเป็นต้นเหตุแห่งการ ท� ำศึกสงครามระหว่างทศกัณฐ์กับพระราม นางส� ำมนักขาเป็นน้องสาวร่วมมารดาของทศกัณฐ์ เป็นน้องสาวคนสุดท้องเพียงตนเดียว เมื่อ ชิวหาผู้สามีตายลงนางจึงตกเป็นหม้าย ด้วยความว้าเหว่นางจึงออกตระเวนท่องเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ จน พบกับพระราม ซึ่งขณะนั้นถือเพศเป็นฤๅษีบ� ำเพ็ญพรตอยู่ ด้วยความงามขององค์พระรามท� ำให้นาง ส� ำมนักขาหลงใหลอยากได้พระรามเป็นสามี จึงแปลงร่างเป็นสาวน้อยรูปงามเข้าไปเจรจาหว่านล้อมให้ พระรามหลงรัก แต่ด้วยคุณธรรมและความรักของพระรามที่มีต่อนางสีดาท� ำให้นางส� ำมนักขาไม่ได้ดังใจ ปรารถนา ทั้งยังได้เห็นนางสีดาอยู่กับพระราม ด้วยแรงตัณหาท� ำให้นางหึงหวงคิดจะชิงพระรามไปจาก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=