ปี-39-ฉบับที่-3

303 ไพโรจน์ ทองค� ำสุก วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๘๗ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลตระหนัก ถึงความส� ำคัญของการละเล่นรื่นเริงประจ� ำชาติ และเห็นว่าคนไทยนิยมเล่นร� ำโทนกันอย่างแพร่หลาย ถ้าปรับปรุงการเล่นร� ำโทนให้เป็นระเบียบทั้งเพลงร้อง ลีลาท่าร� ำ และการแต่งกาย จะท� ำให้การเล่นร� ำโทน เป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น จึงได้มอบหมายให้กรมศิลปากรปรับปรุงร� ำโทนเสียใหม่ให้เป็นมาตรฐาน มีการแต่ง เนื้อร้อง ท� ำนองเพลง และน� ำท่าร� ำจากแม่บทมาก� ำหนดเป็นท่าร� ำเฉพาะแต่ละเพลงอย่างเป็นแบบแผน ร� ำวงมาตรฐาน ประกอบด้วยเพลงทั้งหมด ๑๐ เพลง กรมศิลปากรโดยนายมนตรี ตราโมท แต่งเนื้อร้องจ� ำนวน ๔ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลงร� ำมาซิมาร� ำ เพลงคืนเดือนหงาย ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม แต่งเนื้อร้องเพิ่มอีก ๖ เพลง คือ เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ ของชาติ เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงบูชานักรบ เพลงยอดชายใจหาญ ส่วนท� ำนอง เพลงทั้ง ๑๐ เพลง กรมศิลปากรและกรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้แต่ง ส่วนผู้ประดิษฐ์กระบวนท่าร� ำคือ นางลมุล ยมะคุปต์ นางมัลลี คงประภัศร์ และนางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการสอน นาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ส� ำหรับเพลงร� ำวงมาตรฐานที่กล่าวถึงพระจันทร์มีอยู่ ๕ เพลงดังนี้ เพลงงามแสงเดือน ใช้ท่าสอดสร้อยมาลา งามแสง เดือน มาเยือนส่องหล้า งามใบหน้ามาอยู่วงร� ำ เราเล่นเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์วายระก� ำ ขอให้เล่นฟ้อนร� ำ เพื่อสามัคคีเอย เพลงคืนเดือนหงาย ใช้ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง ยามกลางคืน เดือน หงาย เย็นพระพรายโบกพลิ้วปลิวมา เย็นอะไรก็ไม่เย็นจิต เท่าเย็นผูกมิตรไม่เบื่อระอา เย็นร่มธงไทยปกไปทั่วหล้า เย็นยิ่งน�้ ำฟ้ามาประพรมเอย เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ ใช้ท่าแขกเต้าเข้ารังและท่าผาลาเพียงไหล่ ดวง จันทร์ วันเพ็ญ ลอยเด่นอยู่ในนภา ทรงกลดสดสี รัศมีทอแสงงามตา แสง จันทร์ อร่าม ฉายงามส่องฟ้า ไม่งามเท่าหน้า นวลน้องยองใย งามเอยแสนงาม งามจริงยอดหญิงชาติไทย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=