ปี-39-ฉบับที่-3

301 ไพโรจน์ ทองค� ำสุก วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ - ร้องเพลงช้างประสานงา - เครื่องวัน จันทร์ นั้นควรสีนวลขาว จะยืนยาวชันษาสถาผล อังคารม่วงช่วงงามสีครามปน เป็นมงคลขัตติยาไม่ราคี - ร้องเพลงพระยาสี่เสา - เครื่องวันพุธสุดดีด้วยสีแสด กับเหลืองแปดปนประดับสลับสี วันพฤหัสจัดเครื่องเขียวเหลืองดี วันศุกร์มีเมฆหมอกออกสงคราม - ร้องเพลงตวงพระธาตุ - วันเสาร์ทรงด� ำจึงล�้ ำเลิศ แสนประเสริฐเสี้ยนศึกจะนึกขาม หนึ่งพาชีขี่ขับประดับงาม ให้ต้องตามสีสันจึงกันภัย - ปี่พาทย์ท� ำเพลงกราววีรชัย และอัศวลีลา - (ผู้แสดงร� ำจนจบกระบวน แล้วเข้าโรง) บทบาทของพระจันทร์ปรากฏในการประดิษฐ์กระบวนท่าร� ำ ร� ำแม่บท ร� ำแม่บทเป็นร� ำมาตรฐานชุดหนึ่งผู้แสดงจะร� ำตามบทขับร้อง อีกทั้งต้องใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะจดปลายเท้า ให้สอดคล้องกลมกลืนไปกับท่วงท� ำนอง จังหวะของเพลงใช้เป็นการปฏิบัติฝึกหัด เบื้องต้นการเรียนวิชานาฏศิลป์ละคร ที่บรมครูด้านนาฏศิลป์ไทย ได้ประดิษฐ์ขึ้นให้สอดคล้องกับบทร้องที่ ก� ำหนดการเรียกชื่อท่าร� ำต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน ท่าส่วนใหญ่จะเลียนแบบท่าธรรมชาติของมนุษย์ หากแต่ น� ำมาปรับปรุงให้สวยงาม อ่อนช้อย ตามแบบนาฏศิลป์ไทย ส่วนบทขับร้องนั้นมีทั้งอย่างเต็มและอย่างย่อ ที่เรียกกันว่า แม่บทใหญ่และแม่บทเล็ก ส� ำหรับแม่บทเล็กนั้นจะเป็นบทร้องอยู่ในเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ตอนนารายณ์ปราบนนทุก บทร้องแม่บทเล็ก เทพนมปฐมพรหมสี่หน้า สอดสร้อยมาลาเฉิดฉิน ทั้งกวางเดินดงหงส์บิน กินรินเลียบถ�้ ำอ� ำไพ อีกช้านางนอนภมรเคล้า แขกเต้าผาลาเพียงไหล่ เมขลาโยนแก้วแววไว มยุเรศฟ้อนในอัมพร ยอดตองต้องลมพรหมนิมิต อีกทั้งพิสมัยเรียงหมอน ย้ายท่ามัจฉาชมสาคร พระสี่กรขว้างจักรฤทธิรงค์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=