ปี-39-ฉบับที่-3
293 ไพโรจน์ ทองค� ำสุก วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ พระสุริยาทิตย์ เมื่อขาดพ่อขาดแม่มิรู้ที่จะท� ำประการใด ก็ชักรถท่องเที่ยวไปในห้วงอากาศ อันเป็นตอน กลางระหว่างมนุษย์โลกกับเทวโลกนั่นเอง กล่าวถึงรูปร่างลักษณะของสุริยะเทพหรือพระอาทิตย์ ในทางวรรณคดีกล่าวว่า พระสุริยาทิตย์ ที่ส่องแสงสว่างแก่โลกเรานั้น มีกายสีแดงรัศมีรุ่งโรจน์รอบตัว รูปร่างเล็กมี ๔ กร ๒ กรถือดอกบัว กรที่ ๓ โบกห้ามภัย และกรที่ ๔ ประทานพร มีแก้วปัทมราชเป็นเครื่องประดับ ทรงราชรถเทียมด้วยม้า ๗ ตัว พระสุริยาทิตย์จะประทับอยู่บนราชรถตลอดเวลา และชักรถเรื่อยไปเพื่อให้แสงสว่างแก่จักรวาล ตอนที่ผ่านมนุษย์โลกของเรานั้นเรียกว่า “ทิวากาล” หรือ เวลากลางวัน คราวนี้จะกล่าวถึงดวงเดือนหรือพระจันทร์บ้าง ในทางเทพนิยาย กล่าวว่า พระจันทร์ก็เป็น เทพเจ้าอีกองค์หนึ่งมีชื่อว่า โสมเทพ คัมภีร์ปุราณะ กล่าวว่าพระจันทร์เป็นโอรสแห่ง “นางอนสูยา” กับ “พระอัตริมุนี” ร่างกายสีขาวนวลสวยงามมาก สถิตวิมานเป็นแก้วสีมุกดา ทรงราชรถ ๓ ล้อ เทียมด้วย ม้าสีขาวเหมือนสีดอกมะลิ ๑๐ ตัว ภายหลังรับหน้าที่ออกตระเวนจักรวาลแทนสุริยะเทพ ในช่วงเวลา ที่เรียกว่า “ราตรีกาล” เรื่องราวเกี่ยวด้วยก� ำเนิดของสุริยะเทพและโสมเทพ หรือพระอาทิตย์กับพระจันทร์ มีโดยพิสดาร หลายคติด้วยกัน แต่กล่าวโดยเทวะก� ำเนิดตามคติต� ำราทางโหราศาสตร์ อันกล่าวว่าพระอิศวรเป็นผู้สร้าง เทพเจ้าทั้งหลาย มีความพิสดาร ดังบทซึ่งจัดแต่งเพื่อการแสดงดังต่อไปนี้ บทละครเทพนิยายเบิกโรง เรื่องก� ำเนิดสุริยะเทพและโสมเทพ ประพันธ์บทโดยอาจารย์เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ - ฉาก - จัดเป็นฉากโขดเขาลดหลั่นเป็นชั้น ตั้งแสงสีเป็นสีแดงอย่างไฟไหม้ และสีฟ้าอย่างเป็นเวลากลาง คืน ด้านหลังตอนบนท� ำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ขึ้นและตกลับเหลี่ยมเขาได้ เตรียมท� ำฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฝนตกตามจังหวะในบท - ตัวละคร - พระอิศวร พระอาทิตย์ พระจันทร์ เทวดานางฟ้า ๓ คู่ - เริ่มการแสดง - - เดี่ยวปี่ในเพลงโพธิสัตว์ - - เปิดม่านแดง - (เห็นเป็นฉากโขดหิน ไฟสลัว ๆ มีเสียงลมพัด) - อ่านท� ำนองร่ายยาว -
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=