ปี-39-ฉบับที่-3

อิ ทธิ พลของพระจั นทร์กั บนาฏศิ ลป์ไทย 292 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ๔. พระจันทร์ในการเปรียบเทียบความงามของสตรี ๕. พระจันทร์ในการเปรียบเทียบความงามของบุรุษ ๖. พระจันทร์ตัวแทนของความสุข ความรัก การเกี้ยวพาราสี ความสงบ และพลัง อิทธิพลของพระจันทร์ที่มีต่อการแสดงนาฏศิลป์ไทยเกิดจากการจินตนาการของศิลปินโดยน� ำ ความเป็นพระจันทร์ ดังนี้ ๑. ต� ำนาน ๒. รูปทรง ๓. สีสัน ๔. สัญลักษณ์ของความรัก ความสงบ และพลัง บทบาทของพระจันทร์ในแต่ละหัวข้อมีปะปนกันอยู่ในการแสดงนาฏศิลป์ไทยซึ่งมีจารีตเฉพาะ ปรากฏเป็นรูปแบบของการแสดงโขน ละครใน ละครนอก ละครพันทาง ละครอิงประวัติศาสตร์ ละคร เทพนิยาย ระบ� ำ ร� ำ ฟ้อน ส่วนใหญ่จะปรากฏเป็นลักษณะของการเปรียบเทียบ และแสดงถึงอ� ำนาจที่ ทรงพลัง บทบาทของพระจันทร์ปรากฏในการแสดงนาฏศิลป์ไทยในฐานะเทพเจ้า ดังนี้ ๑. การแสดงละครเทพนิยายเบิกโรง เรื่อง ก� ำเนิดสุริยะเทพและโสมเทพ เรื่องของพระอาทิตย์-พระจันทร์ เป็นของมีมาคู่กับโลกของเรา หากขาดพระอาทิตย์โลกคงจะมีแต่ ความมืดมนอนธกาล ชีวิตทุกชีวิตจะต้องดับลง ไม่อาจยืนยงคงอยู่ได้เช่นที่เป็นอยู่ และหากขาดพระจันทร์ เวลากลางคืนก็คงจะมืดมัว จนโลกเรานี้ขาดความสวยงามไปในเวลาราตรีกาล ท� ำไมดวงตะวันจึงมีชื่อว่า “สุริยะ” หรือ “พระอาทิตย์” เหตุใดดวงเดือนจึงมีชื่อว่า “ศศิธร” หรือ “พระจันทร์” ในต� ำราทางไตรเพท กล่าวว่า ดวงอาทิตย์นั้นมิได้มีดวงเดียว หากแต่เดิมทีเดียวมีอยู่ถึง ๗ ดวง แต่ละดวงคนโบราณถือว่า เป็นเทพเจ้า เพราะสามารถให้คุณให้โทษแก่โลกได้ โดยต� ำนานเทพนิยายกล่าวว่า พระอาทิตย์ทั้ง ๗ องค์นั้น เป็นโอรสของพระกัศยปะ เทพบิดรกับนางอทิติ มีชื่อเรียงล� ำดับพี่น้องดังนี้ คือ พระวรุณาทิตย์ พระมิตราทิตย์ พระอริยมนาทิตย์ พระภคาทิตย์ พระองศาทิตย์ พระธาตราทิตย์ และพระสุริยาทิตย์ ตามเรื่องอันเป็นเทพนิยายเล่าว่า เมื่อลูกทั้ง ๗ เติบโตขึ้นแล้ว นางอทิติและพระกัศยปะเทพบิดร ได้พาลูก เพียง ๖ องค์ ไปถวายพระเป็นเจ้า โอรสองค์สุดท้อง คือ “พระสุริยาทิตย์” นั้น มิได้พาไป ด้วยเหตุผลกล ใดมิได้กล่าวอ้าง คงปล่อยให้อยู่ตามล� ำพัง ดังนั้นพระอาทิตย์ผู้เป็นพี่ทั้ง ๖ องค์ จึงไปอยู่ในเทวโลก ข้าง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=