ปี-39-ฉบับที่-3
19 สมใจ นิ่ มเล็ ก วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ในที่นี้จะยกตัวอย่างองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมไทยที่ยังเรียกสับสนกันอยู่ ได้แก่ พุทธเจดีย์ ทรงกลม หรือเจดีย์เหลี่ยมย่อมุม ตรงส่วนปลียอด จะมีความยาวมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับทรง ซึ่งเชื่อและ ยึดถือกันว่ามาจากแห ช่างไทยคงน� ำวิธีตากแหโดยเอาก้นแหที่มีเชือกผูกติดกับปลายไม้ไผ่ หรือคล้องกับ กิ่งไม้ที่มีความสูงมากกว่าความยาวของแห แล้วปล่อยปากแหที่มีโซ่ตะกั่วลอยอยู่เหนือพื้น ใช้ท่อนไม้ค�้ ำ ให้ปากแหถ่างออก ไม้ยาวมากปากแหก็กว้างมาก รูปทรงของแหก็จะสั้น ปากแหหรือฐานของเจดีย์ก็จะ กว้าง ถ้าไม้ถ่างปากแหสั้น ปากแหหรือฐานของเจดีย์ก็จะแคบ ทรงของแหก็จะชะลูด ทรงที่ชะลูดนี้เอง เมื่อเป็นทรงของเจดีย์ตรงส่วนปลียอดก็จะยาวมาก จึงต้องแบ่งเป็น ๒ ส่วน มีองค์ประกอบรูปทรงกลม แป้นคล้ายผลของลูกจันคั่นอยู่ตรงส่วนแบ่ง เรียกองค์ประกอบนี้ว่า ลูกแก้ว ช่างจะยึดถือชื่อนี้ตลอดมา นักวิชาการบางคนกลับเรียกลูกแก้วนี้เป็นอย่างอื่น ปลีนี้ถ้าไม่ยาวมากจะมีช่วงเดียวตลอด เรียก ปลียอด ถ้ายาวมากจะมีลูกแก้วคั่น เรียกส่วนล่างว่า ปลี และเรียกส่วนบนว่า ปลียอด ส่วนโคนของปลีมีลวดลาย เรียก บัวกาบปลี ภาพที่ ๑ ทรงจอมแห
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=