ปี-39-ฉบับที่-3

นวนิ ยายสะท้อนสั งคมเรื่ อง Germinal 286 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ในเอกสารหอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส หมายเลข ๑๐๓๐๘ ซอลาบันทึกไว้ว่า «อาการขากเสมหะ ออกมาเป็นสีด� ำเป็นโรคหนึ่งที่พบมากในหมู่กรรมกรเหมืองแร่» ชายชราผู้นี้คือแว็งซ็อง มาเออ (Vincent Maheu) หรือเรียกตามฉายาว่า “บอนมอร์” (Bonnemort) ซึ่งแปลว่า “ตายดี” เนื่องจากเขาสามารถหนี ตายจากเหมืองถล่มมาได้ถึง ๓ ครั้ง ครอบครัวของบอนมอร์ท� ำงานในเหมืองหมดทุกคนทั้งสามี ภรรยา และ ลูกอีก ๗ คน ลูกคนที่ขยันและมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดแม้จะขาดการศึกษาชื่อ ตูแซ็ง (Toussaint) ส่วนลูก คนเล็กได้เข้าท� ำงานในบ่อเหมืองแร่ทั้ง ๆ ที่มีอายุเพียง ๑๑ ปี ครอบครัวคนงานอีกครอบครัวชื่อ ปีแยรง (Pierron) เลอวัก (Levaque) และชาวาล (Chaval) ชาวาลมีนิสัยมุทะลุ เห็นแก่ตัว ไม่น่าไว้ใจ และเป็นคู่ แข่งกับเอเตียน ล็องตีเย คนงานเหมืองอีกคนหนึ่งที่หัวรุนแรงเป็นคนรัสเซียชื่อ ซูวารีน (Souvarine) มีความคิดแบบเดียว กับบาคูนิน (Bakunin) คือ เชื่อว่าจะต้องท� ำลายล้างสังคมปัจจุบันลงเสียก่อนจึงจะสร้างสังคมใหม่ขึ้นมาได้ ส่วนคนชื่อ รัสเนอร์ (Rasseneur) เคยเป็นคนงานเหมืองแร่ แต่ปัจจุบันเปิดร้านขายเหล้า เขาไม่เห็นด้วย กับผู้ที่หัวรุนแรงสุดโต่ง แต่สนับสนุนนโยบายค่อยเป็นค่อยไป ส่วนเอเตียนซึ่งเป็นตัวละครเอก มีความเชื่อ ในการจัดตั้งองค์กร เขาต้องการให้คนงานร่วมกับองค์การคอมมิวนิสต์สากล เขาเข้าไปจัดตั้งการนัดหยุด งานของคนงานเหมืองแร่เพราะได้รับแนวความคิดแบบสังคมนิยม ตัวละครที่กล่าวมานี้แสดงให้เห็นการ บ่มเพาะอุดมการณ์ของปัญญาชนฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เรื่องราวส� ำคัญในนวนิยายเรื่อง Germinal เกี่ยวพันกับการนัดหยุดงานครั้งใหญ่ในเหมืองแร่เมือง มงซูเมื่อ ค.ศ. ๑๘๖๖ ซอลาได้รับแรงบันดาลใจมาจากเหตุการณ์นัดหยุดงานจริงในช่วงปลายสมัย จักรวรรดิที่ ๒ ซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อ ค.ศ. ๑๘๗๐ อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่ากฎหมายฝรั่งเศสยังมิได้ยอมรับ การก่อตั้งสหภาพแรงงานซึ่งเกิดขึ้นใน ค.ศ. ๑๘๘๔ เมื่อซอลาเริ่มพิมพ์เผยแพร่นวนิยายเรื่อง Germinal สาเหตุหลักของการนัดหยุดงานที่น� ำเสนอในนวนิยาย ได้แก่ ความยากจนของคนงานเหมืองแร่และ ความไม่พอใจในสภาพที่พักอาศัย ซอลาบรรยายภาพดังกล่าวอย่างละเอียดลออในบทต้น ๆ ของนวนิยาย เสนอภาพความเป็นอยู่ของคนงานเหมืองแร่ซึ่งใกล้เคียงกับความเป็นอยู่ของสัตว์ (Elliott M. Grant in Germinal, 1951: p. xxi) ครอบครัวของมาเออมีรายได้ไม่เพียงพอจนต้องไปกู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้หน้า เลือดอย่างแมกรา (Maigrat) ทั้งล็องตีเย ซูวารีน และรัสเนอร์ เห็นพ้องกันว่าการปฏิวัติ ค.ศ. ๑๗๘๙ ที่เกิด ขึ้นมานับร้อยปีท� ำให้ชีวิตของคนงานเหมืองแร่ดีขึ้นเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ชนชั้นกลางได้รับผลประโยชน์ มากมายหลังการปฏิวัติ สิ่งที่ซอลาน� ำเสนอในนวนิยายคือ กรรมกรมีเสรีภาพทางการเมืองเพิ่มขึ้น แต่ใน ทางเศรษฐกิจ กรรมกรมีโอกาส “ตายจากความอดอยาก” ด้วยเหตุนี้ตัวละครทั้งสามข้างต้นจึงมีความเห็น ร่วมกันว่าสถานการณ์เช่นนี้จะต้องไม่ด� ำเนินต่อไป จะต้องส่งเสียงเรียกร้องให้ดังลั่น (faut que ça pète.)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=