ปี-39-ฉบับที่-3

285 จิ นตนา ด� ำรงค์เลิ ศ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ...ก่อนอื่นความทุกข์ยากทั้งมวล ชะตากรรมทั้งหมดซึ่งกดขี่กรรมกรเหมืองแร่ ถ่านหิน โดยแสดงเหตุการณ์ตามความจริง อย่างไม่ต้องสาธยายความ จะต้องแสดง ว่ากรรมกรถูกกดขี่ ไม่ค่อยจะมีกิน เป็นเหยื่อของความเขลา ความทุกข์ยากตกไปถึง ลูก ๆ ซึ่งมีชีวิตอยู่เหมือนตกนรกของแท้ แต่ก็มิได้คิดจะต่อต้านหรือมุ่งร้ายต่อพวก นายทุน จะน� ำเสนอเพียงสถานการณ์ทางสังคมที่กดขี่เหล่ากรรมกรเท่านั้น ในทาง ตรงข้าม เสนอภาพนายทุนที่มีความเป็นมนุษย์ตราบเท่าที่ผลประโยชน์ของพวกเขา ไม่ถูกกระทบ ไม่ตกหลุมการเรียกร้องแบบโง่ ๆ ส่วนกรรมกรเป็นตัวละครที่เป็น เหยื่อของเหตุการณ์ ของทุน การแข่งขัน วิกฤติของตลาด (เนื่องจากเกิดวิกฤติทาง อุตสาหกรรมตามกรอบของเรื่องในตอนแรก) ต่อมาเกิดการนัดหยุดงานที่มีความ รุนแรงเนื่องจากความทุกข์ยาก ความเจ็บปวดมีมากมายและท� ำให้เหตุการณ์เลว ร้ายที่สุด กรรมกรที่รั้งไว้ไม่อยู่ถึงกับก่ออาชญากรรม ผู้อ่านที่เป็นชนชั้นกลางจะต้อง ตัวสั่นด้วยความหวาดกลัว […] (เอกสารหอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส หมายเลข ๑๐๓๐๗) ในบทแรกของ Germinal ซอลาให้ชื่อว่า “สู่แดนแห่งความทุกข์ยาก” เป็นการเดินทาง ของเอเตียน เด็กหนุ่มผู้ตกงานไปสู่ดินแดนแห่งเหมืองแร่เพื่อหางานใหม่ ซอลาบรรยายว่า ในที่ราบโล่ง ภายใต้ค�่ ำคืนที่ไร้ดาวอันมืดสนิทประดุจสีหมึก ชายคนหนึ่ง เดินโดดเดี่ยวอยู่บนถนนใหญ่จากเมืองมาร์เชียนไปยังเมืองมงซู บาทวิถีระยะทาง ๑๐ กิโลเมตรตัดตรงผ่านทุ่งหัวผักกาด เขามองไม่เห็นพื้นดินสีด� ำเบื้องหน้า... ( Germinal, I, 1) ชายหนุ่มเดินผ่านคนงานในบ่อแร่ ลมเย็นเฉียบปะทะใบหน้าเมื่อเขาเข้าไปทักทายชายชราผู้หนึ่งว่า - สวัสดีครับ...ผมชื่อเอเตียน ล็องตีเย เป็นช่างยนต์... ซอลาบรรยายว่า ชายหนุ่ม «คงจะมีอายุสัก ๒๑ ปี ผิวเข้มมาก รูปหล่อ ท่าทาง แข็งแรงแม้จะมีแขนขาเล็ก» ส่วนชายชราเบื้องหน้าเขาคือภาพของชะตากรรมของคน งานเหมืองแร่ที่สูดฝุ่นละอองเข้าไปมากจนเสี่ยงกับการเป็นโรคปอด ซอลาบรรยายว่า คราวนี้ ชายชราไม่สามารถตอบค� ำถามได้ เขาไอมากจนพูดไม่ออก ในที่สุดเขา ขากเสมหะออกมา และเสมหะบนพื้นดินแดงได้ทิ้งรอยด� ำไว้ ( Germinal, I, 1 . )

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=