ปี-39-ฉบับที่-3

นวนิ ยายสะท้อนสั งคมเรื่ อง Germinal 282 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 โดยกล่าวว่าลักษณะเฉพาะทางจิตวิทยามิใช่ความมหัศจรรย์หรือความลึกลับ หากแต่เป็นสิ่งอธิบายได้ เช่นเดียวกับที่ว่าความชั่วและความดีเป็นผลลัพธ์ที่เป็นนามธรรมเช่นเดียวกับกรดและน�้ ำตาล “ความชั่ว และ ความดีเป็นผลิตภัณฑ์เช่นเดียวกับน�้ ำส้มสายชูและน�้ ำตาล” (Elliot M. Grant, in Germinal , 1951: p. xi) ความเห็นนี้สอดคล้องกับความเห็นของนายแพทย์โกลด แบร์นาร์ (Claude Bernard) ในหนังสือเกี่ยวกับ การศึกษาเรื่องการแพทย์แผนทดลองชื่อ Introduction à l’étude de la médicine expérimentale (ค.ศ. ๑๘๖๕) ซอลาและนายแพทย์แบร์นาร์เชื่อมั่นทั้งการสังเกตและการทดลอง ซอลากล่าวว่า “ผู้เขียนนวนิยายเป็นผู้สังเกตการณ์และผู้ทดลอง ในฐานะผู้สังเกตการณ์ เขาต้อง เก็บข้อมูล วางจุดเริ่มเรื่อง การด� ำเนินเรื่องเกี่ยวกับตัวละคร และการพัฒนาเนื้อเรื่อง หลังจากนั้น ผู้เขียนจึงเริ่มบทบาทผู้ทดลองและสร้างการทดลอง ผมหมายความว่า จับตัวละครลงไปในเรื่องที่วางไว้เพื่อแสดงว่าล� ำดับของข้อมูลจะด� ำเนินไปตาม เหตุการณ์ที่ได้ศึกษามาก่อน (...) นวนิยายแนวธรรมชาตินิยมเป็นการทดลองอย่าง แท้จริง ซึ่งผู้เขียนเขียนเกี่ยวกับมนุษย์โดยอาศัยการสังเกต” (Ibid.) ซอลาเชื่อว่ามนุษย์เป็นผลลัพธ์ของ ๒ สิ่งที่ส� ำคัญ ได้แก่ พันธุกรรม และ สิ่งแวดล้อม ลักษณะทาง กายภาพและจิตวิทยาของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถอธิบายได้ ซอลายืนยันว่ามนุษย์ต้องไม่ปล่อยให้อนาคต เป็นไปตามยถากรรมถึงแม้ว่าสภาพปัจจุบันจะถูกก� ำหนดมาก่อนแล้วด้วยพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม มนุษย์ สามารถก� ำจัดข้ออ่อนด้อยของตนได้เสมอ ส่วนความคิดเรื่องการทดลอง ซอลากล่าวว่าเป็นความคิดเกี่ยว กับเรื่องการเปลี่ยนแปลง นักเขียนแนวธรรมชาตินิยมจึงเป็นนักปฏิรูปสังคม (social reformer) ถึงแม้ว่า นักเขียนแนวธรรมชาตินิยมจะมองสังคมในแง่ร้าย แต่เขาก็ยังคงมีความหวังว่าในอนาคตบางสิ่งบางอย่าง จะดีขึ้นส� ำหรับมนุษย์ ซอลาให้ความส� ำคัญกับเรื่องทางกายภาพมากกว่าจิตวิทยา เขาอธิบายว่าตัวละครเอกของเขาเป็น สิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ ที่อยู่สถานที่หนึ่ง และจิตวิญญาณของเขาต้องแบกรับความรู้สึกจาก ประสาทสัมผัสทั้งมวล ทั้งสายตา การรับกลิ่น การได้ยิน การรู้รส และการสัมผัส นักเขียนแนวธรรมชาติ นิยมมุ่งเน้นแสดงสภาวะทางกายภาพ อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมและเหตุการณ์รอบตัว ซึ่งเป็นปัจจัยก� ำหนด ลักษณะของมนุษย์แต่ละคน อีกประการหนึ่งในแง่ความเป็นนวนิยายแนวทดลอง (roman experimental) นักเขียนแนวธรรมชาตินิยมซึ่งเขียนนวนิยายแนวทดลองรับความคิดมาจากนายแพทย์โกลด แบร์นาร์ เกี่ยวกับข้อพิจารณาด้านชีววิทยา ศาสตร์ซึ่งการทดลองมีบทบาทในการควบคุมสมมุติฐาน และสรุปเป็น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=