ปี-39-ฉบับที่-3

281 จิ นตนา ด� ำรงค์เลิ ศ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ อยู่ในครอบครัวตระกูลมาเออ (Maheu) เอเตียนได้รับอิทธิพลแนวความคิดจากปีแยร์-ฌอแซฟ พรูดง (Pierre-Joseph Proudhon) และคาร์ล มากซ์ (Karl Marx) เขาได้เข้าร่วมต่อสู้เพื่อสิทธิประโยชน์ของ ชนชั้นกรรมกร ต่อมาเมื่อเกิดการนัดหยุดงาน เอเตียนไม่สามารถจัดการได้ส� ำเร็จเนื่องจากขาดประสบการณ์ ความหิวท� ำให้คนงานเหมืองแร่ใช้ความรุนแรง ซึ่งเป็นช่องทางให้กองก� ำลังของทางการกราดยิงเข้าใส่ ผู้ชุมนุม นายมาเออถูกยิงเสียชีวิต เมื่อคนงานเหมืองแร่กลับมาท� ำงานตามปรกติ ซูวารีน (Souvarine) พวกหัวรุนแรงชาวรัสเซีย ได้เปิดน�้ ำให้ท่วมเหมือง คนงานจึงติดอยู่ในเหมือง ลูกสาวของครอบครัวมาเออซึ่งเป็นคนรักของเอเตียน ก็เสียชีวิตไปด้วยในเหตุการณ์ครั้งนี้ เอเตียนรอดตายมาอย่างหวุดหวิดหลังจากติดอยู่ในเหมืองหลายวัน เมื่อเอเตียนกลับมาคิดทบทวนถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมา จึงเข้าใจว่าความพ่ายแพ้ของคนงานเหมืองแร่มีสาเหตุ มาจากวิธีการต่อสู้ที่ไม่มีระบบ เอเตียนตัดสินใจเดินทางไปกรุงปารีสเพื่อศึกษาวิธีการต่อสู้ทางสังคมที่มี ประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ระหว่างการเดินทาง ธรรมชาติในฤดูใบไม้ผลิดลใจให้เอเตียนเกิดความหวังว่าใน ที่สุด “พืชพันธุ์ที่ก� ำลังผลิดอกออกใบ (Germinal)” อันเปรียบได้กับการเริ่มลุกขึ้นมาต่อสู้ของผู้ใช้แรงงาน จะประสบชัยชนะและได้รับความยุติธรรมท่ามกลางมวลมนุษย์ เอมีล ซอลา เกิดเมื่อวันที่ ๒ เมษายน ค.ศ. ๑๘๔๐ (พ.ศ. ๒๓๘๓) ที่กรุงปารีส บิดาเป็นวิศวกร ชาวอิตาลี มารดาเป็นชาวฝรั่งเศส ซอลาเริ่มการศึกษาที่เมืองแอ็กซ์-อ็อง-พรอว็องส์ (Aix-en-Provence) ที่นั่นบิดาเขาท� ำงานเกี่ยวกับโครงการระบบชลประทานและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรขณะที่ซอลามีอายุ เพียง ๗ ขวบ ในวัยเด็กซอลามีเพื่อนสนิทซึ่งต่อมาเป็นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่คือ ปอล เซซาน (Paul Cézanne) ต่อมาเมื่อ ค.ศ. ๑๘๕๘ ครอบครัวซอลาย้ายไปพ� ำนักที่ปารีส ทั้งซอลาและเซซานต่างสนใจในวรรณคดี และศิลปะ ช่วงนั้นคตินิยมโรแมนติกยังคงมีอิทธิพลในฝรั่งเศส เซซานสนใจทางกวีนิพนธ์และจิตรกรรม ส่วนซอลาเริ่มเขียนกวีนิพนธ์แนวเดียวกับอาลแฟรด เดอ มูว์เซ (Alfred de Musset) ครอบครัวซอลามีชีวิต อยู่อย่างล� ำบากในปารีส จนกระทั่งซอลาได้งานท� ำที่ส� ำนักพิมพ์อาแช็ต (Hachette) ในต� ำแหน่งพนักงาน ห่อของและต่อมาได้อยู่ในฝ่ายโฆษณา ถึงแม้ว่างานจะน่าเบื่อแต่ก็ท� ำให้ซอลามีรายได้เลี้ยงชีพ และมีเวลา ว่างฝึกเขียนวรรณกรรมแนวโรแมนติก ต่อมาวงวรรณคดีฝรั่งเศสวิวัฒนาการสู่ลัทธิสัจนิยม บาลซัก (Balzac) และโฟลแบร์ (Flaubert) ต่างประสบความส� ำเร็จอย่างยิ่งใหญ่จากนวนิยายแนวสัจนิยม ใน ค.ศ. ๑๘๖๕ พี่น้องกงกูร์ (Goncourt) พิมพ์เผยแพร่นวนิยายเรื่อง Germinie Lacerteux ซึ่งเป็นการศึกษาทางคลินิก (clinical study) เกี่ยว กับชีวิตรักของสาวใช้คนหนึ่ง โดยเขียนไว้ในค� ำน� ำว่าตัวละครที่มาจากชนชั้นล่างน่าจะมีสิทธิ์ปรากฏใน นวนิยาย ถึงกระนั้นความคิดที่ว่าสัจนิยมย่อมจะเหนือกว่าธรรมชาตินิยมก็ไม่ได้ไกลจากความจริงนัก อีปอลิต แตน (Hippolyte Taine) ออกมาปฏิเสธทัศนคติเดิมเรื่องสติปัญญาเฉลียวฉลาดที่อธิบายไม่ได้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=