ปี-39-ฉบับที่-3

วั ฒนธรรมการสร้างและที่ มาของแนวความคิ ดของวรรณกรรมทั กษิ ณ 276 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 โลหิตเนื้อหนัง ทั่วทั้งกายา ถวายแก่ราชา ผู้มีพระคุณ อีกทั้งดวงจิต จักขุเรืองฤทธิ์ ตามใจปองปุน ถวายแก่ท้าว เจ้าผู้มีคุณ เกศาผมขน ถวายแก่ราชา ทันตาฟันฟาง กระดูกสี่ข้าง พระหัตถ์ซ้ายขวา ขอถวายแก่ท้าว ตามใจปรารถนา พระเกศมวยข้า ถวายแก่จักรี” “ขอถวายชีวิต ขอให้ดวงจิต เป็นดาวดารา เป็นสิงห์เป็นสัตว์ ทุกพรรณนานา อยู่บนเวหา รุ่งเรืองสุกใส โลหิตแห่งข้า ขอเป็นคงคา แม่น�้ ำกว้างใหญ่ บ้างจืดบ้างเค็ม ต่างๆ กันไป ด� ำแดงขุมใส มีในดินดอน ตะโจแห่งข้า ขอเป็นแผ่นฟ้า ครอบสมุทรสาคร อันงามพรายแพร้ว คือแก้วมุนีวร อันมีแก่ก่อน ดุจจะเนื้อกับหนัง กระดูกแห่งข้า ขอเป็นพฤกษา ต้นไม้โดยหวัง บ้างงอกบนควน บ้างออกริมฝั่ง งอกสิ้นทั่วถึง จอมเขาคีรี” ส่วนแนวความคิดของวรรณกรรมท้องถิ่นที่ได้มาจากคติทางพระพุทธศาสนามักจะเน้นที่ วิบากกรรม วรรณกรรมไตรภูมิฉบับบ้านกระบี่น้อย อ� ำเภอเมืองฯ จังหวัดกระบี่ นอกจากกล่าวถึงคติเกี่ยวกับ จักรวาลภพต่าง ๆ แล้วยังกล่าวถึงชาติและวิบากโดยชี้ให้เหตุผลของการกระท� ำความดีและกรรมชั่ว อันจะส่งผลต่อการด� ำเนินชีวิต วรรณกรรมเรื่อง พระปรมัตถ์ ค� ำกาพย์ ได้กล่าวย�้ ำเกี่ยวกับองค์คุณ ๓ ประการ ของพระพุทธศาสนา อันได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เช่น “จึงโปรดประทาน แก้วสามประการ เรียกสรณไตรย คือพระพุทธัง ธัมมังต่อไป สังฆังนั้นไซร้ แทนต่างพุทธพงศ์” ดวงแก้ววิจิตร แจ้งทั่วทุกทิศ เห็นสิ้นทั่วทาง จะหาสิ่งใด ได้ใจสว่าง ครั้นเมื่ออับปาง จะหาได้ที่ไหน” นอกจากนี้ยังมีวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ที่แต่งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาต่อเนื่องถึงรัตนโกสินทร์ อีกหลายเรื่องที่ได้คติมาจากพระพุทธศาสนา เช่นเรื่อง พระพุทธโฆษาจารย์ ค� ำกาพย์ พระนิพพานโสต

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=