ปี-39-ฉบับที่-3
275 ชวน เพชรแก้ว วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ในส่วนของคติพราหมณ์ที่ผสมผสานกับคติพระพุทธศาสนา จากการที่ชาวภาคใต้บูชาพระศิวะ หรือพระอิศวรเป็นเทพสูงสุด และศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงพบวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เป็นจ� ำนวน มากที่มีสาระผสมผสานกันระหว่างคติพราหมณ์กับคติพุทธ เช่น ต� ำนานสร้างโลกฉบับบ้านป่าลาม อ� ำเภอ โคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ซึ่งว่าด้วยการเกิดสรรพสิ่งต่าง ๆ ในโลกและจักวาล การเกิดหยูกยา เวทมนตร์ คาถา ตลอดจนเกิดพิธีกรรมต่าง ๆ “ สิทธิการิยะ เมื่อแรกจะตั้งแผ่นดิน เกิดศีลก่อน แล้วจึงเกิดทานเล่า แต่นั้นมาแลให้พึงรู้ไว้เถิด ทีนี้จึงเทพดาอินทร์พรหม พระอรหันต์ขีณาสับพะ (ขีณาสพ) พระปัจเจกระโพด (ปัจเจกโพธิ) พระเพ็ดสะหนูกัน (วิษณุกรรม์) ทั้งหลาย ก็มาชุมนุมกันในมิกคะไจดี (สุวรณมาลิกเจดีย์) สวรรค์ทั้ง ๑๕ ชั้นพิมาน แล้วก็มาชวนกันคิด จึงพระเพ็ดสะหนูกัน ถามท้าวอินทรา ถามท้าว มหาพรหม ทั้งหมู่เทวดาทั้งหลาย ทั้งพระอรหันต์ ทั้งขีณาเสพ คิดชุมชนกัน ในมิกคะไจดีสวรรค์.....จึงเรียกว่า พระบอริเมนสูน (ปรเมนทรสูร) เกิดขึ้นมา ก่อนแล....จึงพระบอริเมนสูน ก็มาคิดร� ำพึงในหัวใจ ตั้งแผ่นดินขึ้นเท่าใบหว้า.... ก็มาพูนทั้งพระอาทิตย์พระจันทร์.....พระพาย ดินน�้ ำ ไฟลม ทั้งพระอิศวร แลพระนางอุมาคะวัคดีพูนเกิดขึ้นด้วยบุญพระบอริเมน....เหตุดังนี้แล จึงว่า พระบอริเมนสูนเกิดก่อนแล.....” วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เรื่อง นางโภควดี ค� ำกาพย์ มีสาระที่สื่อให้เห็นแนวคิดที่ผสมผสานจาก คติพราหมณ์กับคติพุทธได้อย่างชัดเจน คือ กล่าวถึงพระอิศวรได้ชบ (ชุบ) นางโภควดีขึ้นมา และกล่าวถึง นางโภควดีที่ยินดีสละร่างกายและเลือดเนื้อให้เป็นทาน เพื่อให้เกิดสรรพสิ่งต่าง ๆ ขึ้นบนโลก และจักรวาล อันเป็นปัจจัยพื้นฐานในการด� ำรงชีพของสัตว์โลก “พระอิศวรนารายณ์ราช กล่าวแก่นางนาถ เจ้าโภควัดดี เราจักปรารถนา กายาอินทรีย์ เอาเนื้อเทวี ตั้งแผ่นดินดาน นางโภควัดดี ได้ฟังภูมี ศรัทธาชื่นบาน ข้อขอถวายตัว ให้เนื้อเป็นทาน ชื่นชมส� ำราญ ยินดีนักหนา ข้าขอถวายตัว แก่พระยอหัว ตัวข้าสัททา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=