ปี-39-ฉบับที่-3
273 ชวน เพชรแก้ว วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองสทิงพาราณสี เมืองพัทลุง เมืองไชยา ฯลฯ อาณาจักรและเมืองเหล่านี้ มีบทบาท มีอิทธิพลมากบ้างน้อยบ้างตามแต่โอกาสที่สามารถสร้างฐานและการขยายฐานอ� ำนาจ มีการ ติดต่อสัมพันธ์กับภายนอก เช่น อินเดีย ลังกา พม่า และราชธานี หรือเมืองหลวงซึ่งเป็นศูนย์กลาง การปกครองและศูนย์กลางด้านวัฒนธรรมของไทย ได้แก่ กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และ กรุงรัตนโกสินทร์ แตกต่างกันตามยุคตามสมัย ตามความขัดแย้ง และตามการประสานสัมพันธ์ที่มีต่อกัน ต้องยอมรับความจริงทางประวัติศาสตร์ว่าก่อนที่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีนั้น ภาคใต้มีอาณาจักรลังกาสุกะ อาณาจักรศรีวิชัย และอาณาจักรตามพรลิงค์ โดยมีเมืองศูนย์กลางอย่างมั่นคงมายาวนานหลายศตวรรษ และในสมัยที่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีพบว่า กรุงสุโขทัยกับเมืองนครศรีธรรมราชมีความสัมพันธ์กันอย่าง ใกล้ชิด โดยมีพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์เป็นตัวเชื่อม ขณะเดียวกันก็รับเอาพระพุทธศาสนาและวรรณกรรม บางส่วนไปจากหัวเมืองฝ่ายเหนือและส่วนอื่น ๆ ของไทย ซึ่งมีกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงเทพฯ เป็นราชธานี จากความสัมพันธ์ดังกล่าวท� ำให้ความเจริญด้านศิลปะ และวัฒนธรรมในดินแดนภาคใต้ มีการผ่องถ่ายมาจากหลายแหล่ง และหลายละลอกจนตกเป็นผลึกมีอัตลักษณ์เฉพาะตัว แล้วกลายเป็น บ่อบ่มเพาะและผ่องถ่ายจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนรุ่นต่อ ๆ มา มีบทบาท หน้าที่ วิถีและพลัง แตกต่างกันไปตาม พื้นที่ ยุคสมัยและชุมชน แหล่งที่มา ต้นคิดด้านวรรณกรรมภาคใต้ก็เป็นลักษณะเดียวกันคือ มาจากหลาย แหล่งหลายละลอก แหล่งที่ส� ำคัญที่มีวิถีและพลังค่อนข้างมากคือที่ผ่องถ่ายมาจากวัฒนธรรมอินเดีย อันเนื่องด้วยศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ รองลงมาได้แก่ แนวความคิดและคตินิยมที่มาจากเมือง อันเป็นศูนย์กลางการปกครอง หรือราชธานี และแนวคิดที่เกิดขึ้นและสั่งสมในท้องถิ่นเอง แนวความคิดที่รับมาจากอินเดีย แนวความคิดที่รับมาจากอินเดียคือ แนวความคิดที่ผ่องถ่ายมาจากวัฒนธรรมฮินดูได้แก่คติ พราหมณ์ คติพราหมณ์อันผสมผสานกับคติทางพระพุทธศาสนา และคติพระพุทธศาสนา วรรณกรรมท้อง ถิ่นภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดตามคติพราหมณ์คือ คติพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายอันมีพระศิวะหรือ พระอิศวรเป็นใหญ่รวมถึงความศรัทธาต่อตรีมูรติคือพระพรหม พระวิษณุหรือพระนารายณ์ และ พระศิวะ เห็นได้จากมีค� ำย่อว่า “โอม” ซึ่งย่อมาจาก อ.อุ.ม. อ. คือพระอิศวร อุ คือพระวิษณุ และ ม. คือ พระพรหม บทสวด หรือบทสาธยายประกอบพิธีกรรม อาทิ บทขับในพิธีเรียกผีตายายซึ่งเป็นพิธีรักษา ความเจ็บไข้ ในบางท้องถิ่นของภาคใต้ที่เรียกว่า “ลิมนตร์” และบทโองการพระอิศวร ที่นายหนังตะลุงใช้ เมื่อเชิดรูปพระอิศวรทรงโค
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=