ปี-39-ฉบับที่-3
วั ฒนธรรมการสร้างและที่ มาของแนวความคิ ดของวรรณกรรมทั กษิ ณ 272 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 หรือหยิบยืมไปใช้ได้ง่าย ๆ เจ้าของหนังสือบางคนแม้แต่ลูกหลานก็หยิบฉวยไม่ได้โดยเด็ดขาด หนังสือบุด จึงเป็นหนังสือศักดิ์สิทธิ์ซึ่งพบไม่น้อยว่าเก็บไว้บนหิ้งและปิดทองโดยเฉพาะต� ำรายา เวทมนต์คาถา ต� ำรา โหราศาสตร์ ต� ำราพิชัยสงคราม และหนังสือที่บันทึกบทสวดในพระพุทธศาสนา การคัดลอกวรรณกรรมบางครั้งเรียกว่า การ “ซ่อมแปลง” ทั้งนี้เพราะว่าผู้คัดลอกมีการปรับแต่ง ถ้อยค� ำมากบ้างน้อยบ้าง เช่น เรื่องสุทธิกรรม ค� ำกาพย์ ในตอนท้ายเรื่องกล่าวว่า “ข้าผู้ช่วยซ่อมแปลง เรื่องสุทธิก� ำม์ค� ำพิสดาร สร้างไว้สืบแก่นสาร แก่กุลบุตรอันแสวงผล” คติดังกล่าวท� ำให้มีวรรณกรรมจ� ำนวนไม่น้อย มีการปรับแก้ถ้อยค� ำให้แตกต่างกันออกไปทั้งนี้ อาจเห็นว่าท� ำให้เข้าใจได้ง่ายกว่า ลึกซึ้งกว่าหรือเห็นว่าถูกต้องกว่า เช่น ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้แก้ไขบาง ค� ำในวรรณกรรมเรื่องปรมัตถธรรม ค� ำกลอน ฉบับอ� ำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ได้จากความ จ� ำของอุบาสิกาสน สุปันติ ดังค� ำปรารภว่า “ข้าพเจ้าขอถือโอกาสแก้ไขเล็กน้อยในส่วนฉันทลักษณ์ที่ เห็นว่าผิด บางค� ำที่เห็นว่าจะจ� ำสืบ ๆ กันมาคลาดเคลื่อนเพราะผิดหลักธรรม” ในเรื่องสุบินส� ำนวนเก่า ส� ำนวนที่แพร่หลายที่เมืองนครศรีธรรมราชก็เช่นเดียวกัน ได้บอกในตอนจบเรื่องว่า “ตูข้าผู้ประดิษฐ์ คิดแต่งต่อเรื่องสุภา คินีแหละท่านอา ได้เรื่องมาแต่นอกเขา ตูข้านั่งคิดท� ำ ค� ำซ่อมใส่แอบส� ำเนา ปรีชาของข้าเบา เอาแต่ได้ไม่รู้ดี” จากการคัดลอกดังกล่าวจึงพบว่า วรรณกรรมเรื่องเดียวกันของภาคใต้หลายเรื่อง มีการปรับ แก้ค� ำหรือต่อเติมเรื่องราวจากเดิม ท� ำให้แตกต่างไปบ้าง แต่ก็ยังคงรักษาแก่นสารเดิมไว้ ที่เห็นได้ชัดคือ วรรณกรรมเรื่องสุบินส� ำนวนเก่า ค� ำกาพย์ หอยสังข์ ค� ำกาพย์ พระปรมัตถ์ ค� ำกาพย์ สุทธิกรรม ค� ำกาพย์ เต่าทอง ค� ำกาพย์ เป็นต้น แนวความคิดของวรรณกรรมทักษิณ ภาคใต้ของไทยเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองมาแต่โบราณ เห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับ อาณาจักรและเมืองต่าง ๆ ได้แก่ อาณาจักรลังกาสุกะ อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรตามพรลิงค์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=