ปี-39-ฉบับที่-3
271 ชวน เพชรแก้ว วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ นอกจากผู้เขียนหรือผู้แต่งวรรณกรรมแล้ว ผู้คัดลอกวรรณกรรมก็มีความส� ำคัญในการสร้าง วรรณกรรมไม่น้อยเช่นกัน ทั้งนี้เพราะแต่เดิมมีผู้รู้หนังสือน้อย ผู้ท� ำหน้าที่คัดลอก หรือจารลงในหนังสือบุด มักเป็นผู้ที่มีลายมือสวย มีนิสัยประณีต บรรจง มีความรู้ด้านอักษรศาสตร์ดี อาจจะมีบางคนมีคุณสมบัติ เพียงบางประการเท่านั้น แต่อาจจ� ำเป็นต้องให้คัดลอก เนื่องจากหาผู้คัดลอกได้ยากดังกล่าวแล้ว คุณภาพ วรรณกรรมจึงขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผู้คัดลอกด้วย ในส่วนของผู้คัดลอกมีทั้งที่คัดลอกด้วยความศรัทธา ในฐานะผู้ร่วมสร้าง และอาจจะรับจ้างคัดลอกก็มี เช่น กรณีของขุนราชณุกิจที่ท้ายเรื่องของวรรณกรรม พระปรมัตถ์ ค� ำกาพย์ กล่าวว่า เจ้าเกื้อและเจ้าศรีนางได้ว่าจ้างให้เขียนวรรณกรรมเรื่องพระบอระมัด เป็นเงิน ๑ เหรียญ ส� ำหรับกรณีการจ้างให้คัดลอกที่ถือว่าเป็นการร่วมสร้างกุศล ผู้คัดลอกจะไม่ถือโอกาส เรียกค่าจ้างแพงเกินควร หากใครถือโอกาสคิดค่าคัดลอกแพง ๆ เรียกว่าคนบาปหนา ในวรรณกรรมเรื่อง พระศรีบริมัด ค� ำกาพย์ กล่าวว่า “ผู้ใดเขียนพระธรรม คิดก� ำไรเอาค่าแพง ตายตกนรกแรง กรรมชักให้ได้แสนกัลป์ ผู้ใดคุกค� ำราม เขียนแล้วถามด้วยอาธรรม์ ตกนรกสิบหกกัลป์ กรรมทั้งนั้นเห็นเต็มตา” ท่านขุนอาเทศคดี (กลอน มัลลิกะมาส) นายพร้อม ศรีสัมพุทธ และนายดิเรก พรตตะเสน เมื่อครั้งมีชีวิตอยู่เล่าให้ผู้เขียนบทความฟังเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ สรุปความได้ว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๕-๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บุดที่น� ำมาคัดลอก มีผู้ท� ำกันมากที่อ� ำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อถึง ฤดูแล้ง จะมีผู้ท� ำล่องเรือบรรทุกหนังสือบุดมาตามล� ำคลองท่าดีเข้ามายังเมืองนครศรีธรรมราช โดยน� ำ มาขายที่บริเวณวัดสวนป่าน และวัดพระมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ที่ต้องการคัดลอก วรรณกรรมจะไปซื้อหากันที่นั่น ราคาขายมีตั้งแต่ ๑๐-๕๐ สตางค์ ทั้งนี้ราคาขึ้นอยู่กับขนาด และ ความหนาของบุด บุดที่ใช้บันทึกเรื่องพระมาลัยเป็นบุดที่มีราคาแพงที่สุด เพราะมีความยาวความหนา และคงทนแข็งแรงกว่าบุดขนาดอื่น ๆ ส่วนการเขียนหรือบันทึกวรรณกรรมลงในบุด ท่านบอกว่าเคยเห็น พระภิกษุที่วัดสวนป่าน และวัดพระมหาธาตุวรวิหาร คัดลอกจากหนังสือบุดเก่า ๆ จ� ำไม่ได้ว่าเป็นเรื่องอะไร อีกทั้งเคยเห็นลูกศิษย์หมอยาใช้บุดคัดลอกต� ำรายาของหมอผู้เป็นอาจารย์ การคัดลอกกระท� ำด้วยความ ประณีตบรรจง กว่าจะเขียนหรือคัดลอกได้ ๑ หน้า บางครั้งใช้เวลาเป็นวัน และท่านเล่าว่า ส� ำหรับหนังสือ พระมาลัย ฉบับหนึ่ง ๆ สร้างโดยการคัดลอกอักษรขอม และวาดภาพ ใช้เวลายาวนานเป็นปี ๆ ด้วยเหตุ นี้ในสมัยเก่าที่หนังสือบุดยังคงมีบทบาทอยู่จึงเป็นหนังสือที่เจ้าของหวงแหน ไม่ยินยอมให้ผู้อื่นน� ำไปอ่าน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=