ปี-39-ฉบับที่-3

วั ฒนธรรมการสร้างและที่ มาของแนวความคิ ดของวรรณกรรมทั กษิ ณ 270 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 วรรณกรรมเรื่อง เจ้าพุทโธ ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่แพร่หลายและเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในอ� ำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีข้อความตอนจบเรื่องว่า “หนังสือพุทโธ ของคุณบุนคง สร้างไว้ในพระพุทธศาสนา ถ้าข้าเกิดมาในชาติใด ๆ ก็ดี ขอให้ส� ำเร็จ พระอรหันต์ขีณาสพ นิพพานะ ปัจโยโหติ” หรือวรรณกรรมบางเล่มในตอนจบเรื่องเขียนไว้สั้น ๆ เพียงว่า “นิพพานัง ปัจจโยโหติ” การกล่าวไว้เช่นนี้ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมหนังสือบุดทั่วไปจ� ำนวนไม่น้อยเป็นสิ่งยืนยันว่า มุ่งสร้าง หนังสือขึ้นเพื่อ “ เอาบุญ” มากกว่า “เอาชื่อ” นั่นเอง นอกจากสร้างหนังสือเป็นพุทธบูชาแล้ว ชาวภาคใต้ยังมุ่งสร้างหนังสือเป็นวิทยาทานให้กุลบุตร กุลธิดาได้สวดอ่านเพื่อศึกษาเล่าเรียนอีกด้วย กล่าวคือ การเรียนหนังสือไทยสมัยก่อนตามวัดหรือส� ำนัก ต่างๆ เมื่อผู้เรียนฝึกอ่านและเขียนได้คล่องแคล่วแล้ว ต้องหาความช� ำนาญจากการอ่านหรือสวดหนังสือ เพื่อให้ “อ่านหนังสือแตก” หนังสือที่ใช้สวดมักนิยมแต่งด้วย ค� ำกาพย์ ที่มีสาระเกี่ยวกับนิทานชาดก หรือนิทานประโลมโลก ในตอนจบของเรื่องสุบินส� ำนวนเก่ากล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “ตูข้าผู้เจ้าของ คิดตรึกตรองอยู่นานช้า ไปหาย่านปริดหนา มาท� ำบุดสร้างนิทาน ไว้ให้ทารกา ฝึกปรีชาได้สวดอ่าน ให้ข้าพ้นภัยพาล ในอนาคตปัจจุบัน ขอแคล้วนรกา ดับชีวาขึ้นสวรรค์ พร้อมญาติพงศ์พันธุ์ ทั้งบิดาและมารดา” ในส่วนของผู้เขียนวรรณกรรมท้องถิ่น ซึ่งอาจจะเป็นผู้แต่ง หรือผู้คัดลอกก็ได้นั้น ผู้แต่งหรือ ผู้คัดลอกอาจเป็นคนเดียวกันหรือคนละคนกันก็ได้ ผู้แต่งวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้แต่เดิมมักเป็นผู้คง แก่เรียน สามารถอ่าน และเขียนอักษรขอม และเป็นผู้แตกฉานทางภาษาบาลี ผู้รู้ดังกล่าวส่วนใหญ่เรียนรู้ หนังสือจากวัด ความเป็นผู้รู้เริ่มจากได้มีโอกาสเรียนรู้หนังสือนี่เอง การเขียนหนังสือ หรือสร้างวรรณกรรม นอกจากรู้หนังสือแล้ว ต้องมีความรู้กว้างขวางเกี่ยวกับคดีโลก และคดีธรรมอีกด้วย ผู้แต่งหรือผู้เขียนหนังสือ แต่เดิมจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้รู้หรือนักปราชญ์ เช่น ที่เมืองนครศรีธรรมราช มีนักปราชญ์รุ่นเก่า ทางวรรณกรรม คือ “ศุกร์ปราชญ์” “ชูปราชญ์” “เรืองปราชญ์” “ปราชญ์ปานบอด” “ ปราชญ์เนตร” นักปราชญ์ดังกล่าวนี้ นอกเหนือจากมีความรู้กว้างขวางแล้วยังเป็นผู้ที่มีความจ� ำและความคิดเป็นปัจจัย ส� ำคัญ ดังที่เรื่องปรมัตถ์ ค� ำกาพย์ กล่าวไว้ว่า “แจ้งในปัญญาคิดดู ดีดีมีอยู่ คิดดูให้เห็นเนื้อความ เห็นชอบ ประดิษฐ์คิด ตาม...” อีกด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=