ปี-39-ฉบับที่-3
17 ภิ ญโญ สุวรรณคี รี วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ บันไดที่ใช้ขึ้นนอกชานเรือน มีซุ้มประตูส� ำหรับทางเข้าออก ซึ่งจะมีกรอบเช็ดหน้า มีบาน ประตูที่ตีอกเลาเรียบร้อย ซุ้มประตูท� ำเป็นหลังคามุงกระเบื้องขนาดไม่ใหญ่นัก พอให้หลบฝนได้ และแสดง ว่าเป็นทางเข้าบ้าน ๙. วิธีการประกอบตัวเรือน ช่างจะยึดตัวไม้เข้าด้วยกันโดยการเข้าสลัก เข้าเดือย ซึ่งมีหลายแบบ เช่น เดือยหางเหยี่ยว ส� ำหรับแรงดึง เดือยเข็นส� ำหรับแรงอัด โดยจะไม่มีการใช้ตะปู เพราะถือว่าเหล็กเป็นสนิมและจะขาดก่อน/ ไม้สลักหรือลิ่มจะใช้ไม้เนื้อแข็ง เช่น เต็งรัง หรือโคนไม้ไผ่ที่มีความแข็งแรงคงทนมาก เรือนไทยแต่เดิมจะท� ำส� ำเร็จรูป เวลายกเสาขึ้นเป็นคู่ ๆ ก็จะมีรอดร้อยติดเสาขึ้นไป เอาขื่อ สวมกับเสา แล้วติดเชิงกลอนและโครงสร้างหลังคามีแปหัวเสา จันทัน อกไก่ แปลาน กลอน ระแนง และ กระเบื้องตามล� ำดับ การท� ำงานลักษณะนี้ต้องใช้ช่างที่มีความช� ำนาญงาน และใช้ไม้ที่มีคุณภาพดีเพื่อ ให้มีอายุการใช้งานนาน บางแห่ง เช่น ภาคเหนือ ภาคอีสาน อาจใช้กระเบื้องไม้ที่ท� ำจากไม้สัก ไม้ตะเคียนทอง มามุงหลังคา ซึ่งทางภาคเหนือเรียกว่า “เกล็ดแป้น” แต่ทางภาคกลางมีดินเหนียวมาก จึงนิยมน� ำดิน มาพิมพ์เป็นแผ่นกระเบื้องแล้วเผาตามกรรมวิธีจนได้เป็นกระเบื้องมุงหลังคา จนวิวัฒนาการมาใช้กระเบื้อง เคลือบในการมุงหลังคา ซึ่งไม่ท� ำให้เกิดราบนหลังคา ภาพที่ ๔ ผลงานการออกแบบเรือนไทยหมู่ ณ ประเทศแคนาดา โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=