ปี-39-ฉบับที่-3
วั ฒนธรรมการสร้างและที่ มาของแนวความคิ ดของวรรณกรรมทั กษิ ณ 268 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 น� ำวรรณกรรมทักษิณจ� ำนวนหนึ่งเท่านั้นมาพิจารณา ซึ่งยังเป็นจ� ำนวนน้อยเมื่อเทียบกับจ� ำนวนวรรณกรรม ภาคใต้ที่มีอยู่เป็นจ� ำนวนมหาศาล* ค� ำตอบ “วัฒนธรรมการสร้างและแนวคิดของวรรณกรรมทักษิณ” จึงมิใช่ข้อเสนอที่สมบูรณ์ คงจะต้องศึกษากันอีกต่อไป วัฒนธรรมการสร้างวรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมทักษิณที่บันทึกในหนังสือบุดและใบลานอันเป็นวัฒนธรรมเดิมก่อนที่การพิมพ์แพร่ หลาย ส่วนใหญ่มีน้อยมากที่บอกไว้อย่างชัดเจนว่าใครคือผู้แต่ง และแต่งเมื่อใด แต่ในตอนท้ายเรื่องมัก ปรากฏค� ำว่า “สร้าง” “ผู้สร้าง” ให้เห็นอยู่ ค� ำว่า “สร้าง” มีความหมายหลายนัย คือ อาจจะหมายถึงแต่ง อาจจะหมายถึงการจารหรือการเขียน หรือการคัดลอก หรือหมายถึงการที่มีผู้ใช้ทุนทรัพย์ และการจัดการ ให้มีการแต่งหรือให้คัดลอกวรรณกรรมก็ได้ จึงเป็นไปได้ว่าการที่ชาวบ้านภาคใต้ส่วนใหญ่ที่สร้างวรรณกรรม มักเป็นชาวพุทธ ชาวพุทธทั้งหลายมีคตินิยมการอุทิศตนหรืออุทิศสิ่งของเพื่อศาสนาเป็นการ “บูชาธรรม” หรือ “บูชาพระธรรม” หรือมุ่งการกระท� ำเป็นพุทธบูชา เชื่อว่าการสร้างหนังสือถวายเป็นพุทธบูชาจะมี อานิสงส์เหนือกว่าการสร้างโลกียทรัพย์ เพราะเป็นทุน และทางให้เกิดปีติสุข ในวรรณกรรมเรื่องสุทธิกรรมชาดก ค� ำกาพย์ มีข้อความว่า “นี่คือโลกียทรัพย์ นับเข้าเปรียบด้วยตัวเรา ตายแล้วได้แก่เขา เราไปตามยถากรรม จะได้เป็นเพื่อนกาย ที่ตนเองบูชาธรรม ไว้แล้วจะได้น� ำ เราไปเกิดเป็นสุขา” นี่คือมโนทัศน์ของผู้แต่งวรรณกรรมเรื่องนี้ที่เห็นว่า การสร้างหนังสือไว้ในพระศาสนาเป็นการ กระท� ำเพื่อบูชาธรรมหรือเป็นพุทธบูชา เพื่อเอาบุญมิได้มุ่งเพื่อเอาชื่อ ดังนั้นผู้แต่งจึงนิยมไม่บอกชื่อของ ตนลงในวรรณกรรม วรรณกรรมทักษิณส่วนใหญ่จึงเป็นประเภท “นิรนาม” คือ ไม่ระบุชื่อผู้แต่ง * ผลงานวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ : สถานภาพและแหล่งสืบค้น ที่กลุ่มสถาบันราชภัฏภาคใต้และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์พิมพ์เผยแพร่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยได้รับการสนับสนุนจากส� ำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ระบุว่ามีหนังสือบุดและสมุดข่อยเก็บรวบรวม ไว้ในสถาบันทั้ง ๕ แห่ง รวมประมาณ ๖,๐๐๐ ฉบับ และยังส� ำรวจเบื้องต้นพบว่า มีหนังสือดังกล่าวที่เป็นสมบัติของเอกชนและมีอยู่ตาม วัดต่าง ๆ อีกไม่น้อยกว่า ๕,๐๐๐ ฉบับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=