ปี-39-ฉบับที่-3
วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ วัฒนธรรมการสร้างและที่มาของแนวความคิดของ วรรณกรรมทักษิณ สาระที่น� ำเสนอในบทความนี้ มีกรอบคิดส� ำคัญอยู่ที่มุ่งพิจารณาจากวรรณกรรมที่บันทึกใน หนังสือบุด (สมุดข่อย) และใบลานเท่านั้น โดยข้อมูลทั้งหมดประมวลจากวรรณกรรมจ� ำนวนหนึ่ง ซึ่งเก็บ รวบรวมไว้ที่สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครศรีธรรมราช ส� ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ส� ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง โรงเรียนสตรีพัทลุง ความจ� ำกัดคือ เป็นการ บทคัดย่อ วรรณกรรมทักษิณที่บันทึกในหนังสือบุดและใบลานอันเป็นวัฒนธรรมเดิมก่อนที่การ พิมพ์แพร่หลาย ส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าใครคือผู้แต่ง และแต่งเมื่อใด ตอนท้ายเรื่องมักบอกชื่อผู้สร้าง ซึ่งหมายถึงผู้แต่ง ผู้เขียน ผู้คัดลอก หรือผู้ใช้ทุนทรัพย์และการจัดการให้มีการแต่งหรือให้คัดลอก วรรณกรรมก็ได้ คตินิยมในการสร้างก็เพื่อเป็นพุทธบูชาเพราะเป็นทุนและทางให้เกิดปีติสุขและ เป็นวิทยาทานให้แก่กุลบุตรกุลธิดาสวดอ่านเพื่อการศึกษาเล่าเรียนอีกด้วย ส� ำหรับแนวความคิด ของวรรณกรรมทักษิณ มีทั้งแนวความคิดที่รับมาจากอินเดีย แนวความคิดที่รับมาจากราชธานี และ แนวความคิดที่เกิดขึ้นภายในท้องถิ่น แนวความคิดที่รับมาจากอินเดียเป็นแนวความคิดที่ผ่องถ่ายมา จากวัฒนธรรมฮินดู ได้แก่ คติพราหมณ์ คติพราหมณ์อันผสมผสานกับคติทางพระพุทธศาสนา และ คติพุทธศาสนา วรรณกรรมที่มีแนวความคิดนี้ เช่น บทขับเรียกผีตายาย บทโองการพระอิศวร ต� ำนานสร้างโลกฉบับบ้านป่าลาม นางโภควดี พระปรมัตถ์ ค� ำกาพย์ พระพุทธโฆษาจารย์ ค� ำกาพย์ พระนิพพานโสต ค� ำกาพย์ ต� ำนานพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ด้านแนวความคิดที่ได้รับ อิทธิพลจากราชธานี หรือรับมาจากเมืองหลวง หรือเมืองศูนย์กลางด้านวัฒนธรรมของไทย ได้แก่ กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงเทพฯ ได้แก่ วรรณกรรมเรื่องไตรภูมิพระร่วง ฉบับ บ้านกระบี่น้อย พระมาลัย ค� ำกาพย์ วรรณกรรมชาดก รามเกียรติ์ โลกนิติค� ำโคลง ส่วนแนวความคิด ที่เกิดขึ้นภายในท้องถิ่น เป็นแนวความคิดที่ได้มาจากประสบการณ์ แรงบันดาลใจในเหตุการณ์ ต่าง ๆ หรือจากญาณทัศนะของผู้แต่ง ได้แก่ วรรณกรรมเรื่องนายดัน ค� ำกาพย์ วันคาร ค� ำกาพย์ เจ็ดจา ค� ำกาพย์ ป้องครก ค� ำกาพย์ ภาษิตลุงสอนหลาน สรรพลี้หวน ค� ำส� ำคัญ : วรรณกรรมทักษิณ, วัฒนธรรมการสร้าง, แนวความคิด ชวน เพชรแก้ว ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=