ปี-39-ฉบับที่-3

สุภาษิ ตศรี สวั สดิ์ : ค� ำสอนกุลบุตรผู้ศึ กษาในส� ำนั กสงฆ์ 262 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ลางคนจนจริง ๆ ทิ้งลูกไว้กับครูบา ตัวไปเที่ยวขายค้า ครูต้องหามาเลี้ยงดู เทศได้พอยังชั่ว ค่อยเบาตัวท่านขรัวครู หาไม่ก็พระผู้ เปนเจ้าสู้บิณฑบาตมา ได้น้อยค่อยออมฉัน สู้อดกลั้นเพื่อสิษสา มาอยู่กับครูบา เรียนวิชาครูเปลืองทุน แม้บางบ้านพอมีฐานะ มาส่งข้าวปลาอาหาร แต่ก็ไม่เสมอไป พ่อแม่บางคนจนจริง ๆ น� ำลูกมา ฝากทิ้งไว้แล้วตนเองก็ไปค้าขาย ภาระเลี้ยงดูศิษย์จึงเป็นเรื่องใหญ่ ท� ำให้พอเข้าใจได้ว่า เหตุใดจึงมีค� ำสอน หลายข้อที่แสดงความกังวลเกี่ยวกับเรื่องข้าวปลาอาหาร ๓. ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับบ้าน หนังสือเรื่องนี้ฉายภาพสังคมที่วัดกับบ้านมีความสัมพันธ์ ใกล้ชิดในลักษณะเกื้อกูล สงฆ์ไม่เพียงปฏิบัติกิจตามประเพณีศาสนา แต่ยังเป็นผู้สั่งสอนความรู้และอบรม จริยธรรม และรับภาระดูแลเลี้ยงดูลูกหลานของชาวบ้านที่น� ำมาฝากเรียนในส� ำนัก เป็นการกระท� ำที่ถึงพร้อม ด้วยเมตตาธรรม ชาวบ้านจึงมีศรัทธาช่วยเหลือค�้ ำจุนด้วยการใส่บาตร ถวายภัตตาหาร และเครื่องไทยทาน สงฆ์ก็ตระหนักว่าเป็นอยู่ด้วยชาวบ้าน จึงต้องมั่นคงในศีลสังวรเพื่อยังคนให้เลื่อมใสศรัทธาอันจะเป็น ผลถึงพระศาสนา หากประพฤติไม่เหมาะสม ชาวบ้านก็จะรังเกียจ ไม่เกื้อกูล และเสื่อมถอยศรัทธา ดังที่ว่า หนึ่งนั้นเล่าโสด เห็นเด็กระโอด ระองข� ำขาว ชื่นชมว่างาม ถามถึงพี่สาว ค�่ ำ ๆ เช้า ๆ เข้าเคล้าเข้าเคลีย พ่อแม่เขารู้ ติเตียนลบหลู่ ภาครูพลอยเสีย เขาเคยมาส่ง ส� ำรับกับเขี่ย เขาเขินเมินเสีย ครูพลอยอดโซ เหมือนทุบหม้อเข้า บาตรพระครูเจ้า สิ้นทั้งท่วยโถ เณรจะอดเข้า หน้าเว้าตาโหว เขาไม่พุทโธ ด้วยเณรรังแก ๔. วิกฤตจริยธรรมที่แผ่กว้าง เนื้อความหลายตอนในหนังสือสุภาษิตนี้บ่งบอกว่าสังคมก� ำลังมี ปัญหาจริยธรรม ดังที่บางตอนกล่าวไว้ว่า มีการลักขโมยของสงฆ์อย่างไม่เกรงบาปกรรม ไม่เพียงเรือเท่านั้น กระทั่งพายก็ยังต้องให้รีบเก็บไว้ มิฉะนั้นอาจหายได้ เช่น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=