ปี-39-ฉบับที่-3
261 โชษิ ตา มณี ใส วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ การศึกษาในปรัชญาความรู้คู่คุณธรรม ท� ำให้ต้องมีการปลูกฝังอบรมด้านจริยธรรมควบคู่กันไป การที่เด็กไปอยู่ในส� ำนัก อาจารย์จะมองเห็นความประพฤติของเด็กทุกแง่มุม การสั่งสอนจึงเป็นไปอย่าง รอบด้าน โดยใช้ทั้งวิธีอธิบายชี้แจง การขู่ และการลงโทษด้วยการตี ดังข้อความว่า เขาส่งไปให้ ตายามผู้ใหญ่ แกไปกินตับ เช่นนี้อย่าท� ำ ควรจ� ำค� ำนับ อย่าสอนสับปลับ สอพลอส่อความ เช่นว่าอย่าท� ำ แม้นสอนไม่จ� ำ ขืนท� ำตะกลาม ตีให้เลือดไหล ไล่จากอาราม สาบหน้าตรานาม ไม่ฃอรอกัน ตีเณรโค่งก่อน ใครสั่งใครสอน มึงต๋งล้างชาม มึงเปนผู้ใหญ่ ท� ำไว้เห็นงาม อ้ายน้อยพลอยตาม ตีเสียด้วยกัน สังเกตได้ว่าการขู่ การลงโทษที่ใช้เป็นเครื่องควบคุมความประพฤติจะกระท� ำพร้อมกับการอธิบาย สั่งสอน มีความห่วงใย ความเมตตาปรานีฉายชัดออกมาในน�้ ำเสียง สิ่งนี้ย่อมผูกพันใจศิษย์ เป็นคุณค่าความ สัมพันธ์ที่งดงามระหว่างบุคคลในสังคม ดังข้อความว่า มิตีก็จ� ำตี ด้วยปรานีมีอาไล เจ้าอย่าได้น้อยใจ โกรธเจ้าไทว่าด่าตี ๒. บทบาทของสงฆ์ต่อการศึกษา จากในเรื่องจะเห็นประจักษ์ว่าสงฆ์มีบทบาทอย่างยิ่งด้านการ ศึกษาของกุลบุตร เป็นที่พึ่งด้านการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม ทางโลกให้เรียนหนังสือ ทางธรรมให้ เรียนธรรมะและอบรมจริยธรรม ภาระที่หนักกว่านั้น คือ ต้องรับผิดชอบความเป็นอยู่ของศิษย์ด้วย อาจารย์ ไม่ได้สินจ้างในการสอน ตรงข้ามกลับต้องไปบิณฑบาตและไปเทศน์เพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยส� ำหรับเลี้ยงดู ดังที่ว่า ไม่ได้เสียสินจ้าง ท่านบร้างสู้สั่งสอน ลางสิษนั้นมานดร ทุนรอนนั้นพันมั่งมี ศรรทธามีสัดไท ฝากลูกไว้ส่งกัปปี ภอคุ้มทุนพระชี บ้างตระหนี่มิใคร่มา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=