ปี-39-ฉบับที่-3
สุภาษิ ตศรี สวั สดิ์ : ค� ำสอนกุลบุตรผู้ศึ กษาในส� ำนั กสงฆ์ 260 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ภาพฉายสังคมใน สุภาษิตศรีสวัสดิ์ ข้อปฏิบัติของศิษย์สงฆ์ซึ่งเป็นเนื้อหาหลักของเรื่อง ไม่ใช่ระเบียบที่นึกก� ำหนดขึ้นอย่างแห้งแล้ง แต่เขียนขึ้นจากประสบการณ์ มีรายละเอียดที่สะท้อนภาพสังคมอย่างน่าสนใจ ในขณะที่กล่าวถึงข้อปฏิบัติ ตนของศิษย์สงฆ์อย่างละเอียด ก็เชื่อมโยงถึงสภาพแวดล้อมทางสังคม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้คน หนังสือเรื่องนี้ฉายภาพสังคมในสมัยที่แต่งอย่างน่าสนใจหลายประการ ดังนี้ ๑. การศึกษาของกุลบุตรไทยในอดีต พ่อแม่มักน� ำลูกเข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์สงฆ์เพื่อศึกษาวิชา ซึ่งมีลักษณะเหมือนเข้าโรงเรียนประจ� ำในปัจจุบัน บ้างก็ให้บวชเป็นสามเณรไว้ บ้างก็มิได้บวช ศิษย์สงฆ์ จะเรียนหนังสือในเบื้องต้น และอาจเรียนวิชาต่อสู้ (ในเรื่องนี้เรียก วิชาฉะฟัน) ก่อนที่จะสึกออกไป ผู้มีวิชานี้จะได้รับความนิยมจากบรรดาหญิงสาว ดังที่ว่า แม้นหยากศึกหา จะให้สีกา ใส่ใจใฝ่ฝัน อุส่าห์ศึกษา วิชาฉะฟัน จึ่งศึกจากบรร พชิตจึ่งดี บางคนไม่ฝากตัวเป็นศิษย์สงฆ์ แต่ไปฝากตัวอยู่กับขุนนางมูลนายเพื่อเรียนวิชาตัดสินคดีความ (เรียกว่าวิชาพวกโรงศาล) พวกนี้ค่อนข้างยากล� ำบากในการด� ำเนินชีวิต ต้องบากบั่น หมั่นเพียร และอดทน อย่างมากจึงจะประสบความส� ำเร็จ เพราะ กว่าจะรู้ช� ำนาญ เขาใช้งานมิใช่เบา แบกสมุดเข้าในวัง เดิรตามหลังดังค่าเขา พินอบท� ำพิเทา ต้องเอาใจดั่งนายมุน ถือชุดและถือล่วม กินนอนร่วมลูกสถุน หยาบช้าล้วนธารุน ต่อยกันวุ่นกับค่าไทย กินกริบกินกรอบกรัง จะนอนนั่งไม่ผ่องใส ลูกเมียของครูใช้ ทุกสิ่งไปได้ร� ำคาญ การเข้าศึกษาในส� ำนักสงฆ์มีข้อได้เปรียบการศึกษากับขุนนางมูลนาย แต่เด็กบางคนไม่เรียน ไม่ฟังค� ำสั่งสอน แม้ได้เข้าศึกษาเป็นศิษย์สงฆ์ก็ยังประพฤติเป็นพาลจนเสียคนไป การศึกษาจากส� ำนักสงฆ์ จึงไม่ได้ประกันว่าผู้ผ่านการเข้าศึกษาจะประสบความส� ำเร็จทุกคน ปัจจัยส� ำคัญคือตัวบุคคลเป็นผู้พึงสั่ง สอนได้หรือไม่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=